รู้จัก! 5 ศาสนา ที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงอุปถัมภ์ ในประเทศไทย

ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติมาโดยตลอด นับตั้งแต่ได้ตั้งเป็นแว่นแคว้น และเป็นราชอาณาจักรแต่ได้เอื้อเฟื้อต่อผู้นับถือศาสนาอื่น และให้ความอุปถัมภ์ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงอุปถัมภ์ http://winne.ws/n12566

4.3 หมื่น ผู้เข้าชม
รู้จัก! 5 ศาสนา ที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงอุปถัมภ์ ในประเทศไทยแหล่งภาพจาก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย

          ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติมาโดยตลอด นับตั้งแต่ได้ตั้งเป็นแว่นแคว้น และเป็นราชอาณาจักรแต่ก็ได้เอื้อเฟื้อต่อคนไทยผู้นับถือศาสนาอื่น และให้ความอุปถัมภ์ศาสนาอื่นตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงอุปถัมภ์ไว้แล้ว และมีนโยบายที่จะป้องกันมิให้คนไทยที่นับถือศาสนาแตกต่างกันเบียดเบียนกัน มีความสมานฉันท์ สามารถอยู่ร่วมกันด้วยความสุขสงบร่มเย็น โดยทุกคนมีเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมตามศาสนาของตน โดยได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๐๖,๒๐๗ และ ๒๐๘ 

          ในการดำเนินการด้านศาสนาต่าง ๆ ทางหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง บริหารงานโดยยึดหลักกฎหมาย ด้วยการหารือองค์การหลักของแต่ละศาสนาที่ทางราชการให้ความอุปถัมภ์ไว้แล้วเป็นสำคัญ เพื่อให้องค์การหลักของแต่ละศาสนาช่วยควบคุมดูแล และร่วมรับผิดชอบในแต่ละศาสนา เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยเป็นผลดีต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวม 

           ทางด้านพระพุทธศาสนา มีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เป็นหลักในการบริหารงาน หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง สนองงานของคณะสงฆ์ และรัฐบาลตามตัวบทกฎหมายที่กำหนดไว้ ทั้งด้านบริหาร และด้านศาสนูปถัมภ์ 

            การบริหารศาสนาอื่น อยู่ภายใต้การดูแลบริหารของกระทรวงมหาดไทย ส่วนกรมการศาสนาได้ให้ความอนุเคราะห์ด้านศาสนูปถัมภ์ดังนี้

รู้จัก! 5 ศาสนา ที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงอุปถัมภ์ ในประเทศไทยแหล่งภาพจาก Wikimedia Commons

ศาสนาอิสลาม  มีพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ.๒๔๘๘  และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๔๙๑ และมัสยิดอิสลาม พ.ศ.๒๔๙๐ โดยจะหารือจุฬาราชมนตรี และกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการศาสนูปถัมภ์ศาสนาอิสลาม 

ศาสนาคริสต์  พระมหากษัตริย์ ทรงให้ความอุปถัมภ์ นิกายคาทอลิก และนิกายโปรเตสแต้นท์มาช้านาน ต่อมาได้มีระเบียบของกรมการศาสนา ว่าด้วยการรับรองฐานะองค์การทางศาสนา และระเบียบอื่น ๆ กรมการศาสนาจะหารือด้านศาสนูปถัมภ์กับองค์การ คาทอลิก และโปรเตสแต้นท์ ที่ได้รับรองฐานะขึ้นเป็นองค์การทางศาสนาไว้แล้วคือ 
                                  ๑. สภาประมุข แห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิก 
                                  ๒. สภาคริสจักรในประเทศไทย 
                                  ๓. สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย 
                                  ๔. มูลนิธิคริสจักรคณะแบ๊บติสท์ 
                                  ๕. มูลนิธิเซเวนเดย์ แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย 

ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู  กรมการศาสนา จะหารือด้านศาสนูปถัมภ์กับสามองค์การที่ได้รับรองฐานะเป็นองค์การศาสนาไว้แล้วคือ 
                                  ๑. สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง 
                                  ๒. สมาคมฮินดู สมาช 
                                  ๓. สมาคมฮินดู ธรรมสภา 

ศาสนาซิกข์  กรมการศาสนาจะหารือด้านศาสนูปถัมภ์กับสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา

รู้จัก! 5 ศาสนา ที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงอุปถัมภ์ ในประเทศไทยแหล่งภาพจาก ศาสนาในประเทศไทย

ศาสนาพุทธ

        ศาสนาพุทธถือกำเนิดในประเทศอินเดียก่อนพุทธศักราช 45 ปี (พุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน) ซึ่งนับว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง มีผู้นับถือหลายร้อยล้านคนโดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะในประเทศไทย พระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายเข้ามาสู่ ดินแดนสุวรรณภูมิ ได้แก่ ในเขตประเทศพม่า และประเทศไทย ในสมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

       พระศาสดาผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนา คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายาแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ในขณะที่ทรงพระเยาว์ก็ได้ศึกษาศิลปวิทยาในสำนักต่าง ๆ หลายสำนัก จนกระทั่งมีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในวิชาการต่าง ๆ หลายสาขา

       เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ 16 พรรษาทรงอภิเษกสมรสกับเจ้า หญิงยโสธรา มีพระโอรสหนึ่งพระองค์ คือ เจ้าชายราหุล ในชีวิตฆราวาสของพระองค์มีแต่ความสุขสมหวัง ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 29 พรรษา ก็ทรงเบื่อหน่ายโลก เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสังขาร และทรงหวังจะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์ จึงได้ทรงสละความสุขทั้งมวลไม่ว่าจะเป็นพระราชทรัพย์ พระโอรส พระมเหสี พระบิดาพระมารดา ญาติพี่น้องและมิตรสหายออกบวช เพื่อหาทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ทรงผนวชอยู่จนกระทั่งมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา จึงได้ตรัสรู้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ คือ รู้แจ้งสัจธรรมแห่งโลก เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยคำว่า " พุทธ " หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

       เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดสัตว์ สั่งสอนประชาชนตามแคว้น ต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย เป็นเวลา 45 ปี ปรากฎว่าชาวอินเดียในสมัยนั้นได้หันกลับมานับถือพระพุทธศาสนา และเข้ามาบรรพชาอุปสมบทเป็นจำนวนมาก พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอยู่จนกระทั่งมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา จึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย

        คำสอนของพระพุทธเจ้าได้รับการบันทึกไว้เป็นพระคัมภีร์ เรียกว่า พระไตรปิฎก มีความยาว 84,000 พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น 3 คัมภีร์ คือ คัมภีร์พระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่อง วินัย ศีล สำหรับให้พระภิกษุ สามเณร ปฏิบัติ นอกจากนี้คัมภีร์พระไตรปิฏกยังกล่าวถึงศีลเบื้องต้น และการกำหนดกฏเกณฑ์ ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่นเรื่อง การอุปสมบท การผูกพัทธสีมา เป็นต้น คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก เป็นคัมภีร์พระสูตร กล่าวถึงหลักธรรมต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า คัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก กล่าวถึงธรรมชั้นสูง หรือปรมัตตสัจจะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ 

       หัวใจพระพุทธศาสนา 3 ประการ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ แก่พระอรหันต์ 1,250 รูป ณ พระเวฬุวัน หลังจากตรัสรู้เพียง 9 เดือน และทรงแสดงปฐมเทศนาเพียง 7 เดือน ก็ทรงสรุปรวมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ฝ่ายของมรรคกับนิโรธ ซึ่งถ้าใครปฏิบัติตามที่แสดงไว้ ทุกข์กับสมุทัย ก็หมดไป กล่าวโดยสรุปรวมเป็นไตรสิกขาตรงตัว คือ 

         1. การไม่ทำบาปทั้งปวง 

         2. การทำกุศลให้สมบูรณ์ 

         3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว 

รู้จัก! 5 ศาสนา ที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงอุปถัมภ์ ในประเทศไทยแหล่งภาพจาก www.cathedralchan.or.th

ศาสนาคริสต์

        ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประเภทเทวนิยม (Monotheism) นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ ยะโฮวา (Jehovah) เป็นผู้ทรงสร้างโลก สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งในสากลจักรวาล เป็นผู้ประทานข้อบัญญัติแก่มนุษย์ โดยผ่านทางศาสดาพยากรณ์ (Prophets) และศาสนาฑูตตาง ๆ ในแต่ละยุค แต่ละสมัย เรื่อยมาตั้งแต่โมเสสถึงพระเยซู 

         พระเยซูประสูติเมื่อปีพ.ศ.543 (เริ่มคริสต์ศักราชที่ 1) เป็นช่วงที่อาณา จักรโรมันเจริญถึงขีดสุดภายใต้การนำของพระเจ้าซีซาร์ ตามหลักฐานกล่าวว่า พระเยซู ประสูติที่เมืองเบธเลเฮม แคว้นยูดาย มารดาชื่อ มาเรีย บิดาชื่อ โจเซฟ เป็นคนเชื้อสายยิว อาศัยอยู่ที่เมืองนาซาเรธ ในสมัยนั้นมีคำทำนายว่า "กษัตริย์แห่งชนชาติยิวได้บังเกิดขึ้นแล้ว" กษัตริย์เฮร็อค ผู้ครองแคว้นยูดายทรงทราบจึงรับสั่งให้ประหารชีวิตเด็กชายที่เกิดในเมืองเบธเลเฮม ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น โจเซฟได้พาภรรยาและบุตรหลบหนี จนกระทั่งกษัตริย์เฮร็อคเสียชีวิตลง พระเยซูก็ เติบโตขึ้นและด้วยความสนใจใฝ่หาความรู้ทางศาสนา เมื่ออายุ 30 ปี ได้พบกับนักบุญจอห์น ผู้เผยแพร่ศาสนายิวและได้รับศีลจุ่ม (แบบติส) จากจอห์นที่แม่น้ำจอร์แดน นับแต่นั้นมาพระเยซูก็ได้ชื่อว่า พระเยซูคริสต์ (Jesus Christ) 

        พระเยซูคริสต์ เริ่มประกาศคำสอนโดยรับเอาความเชื่อศาสนายิวเป็น หลักปฏิบัติและเป็นคำสอนที่สำคัญอันหนึ่งเรียกว่า "เทศนาบนภูเขา" (Sermon on Mount) พระเยซูส่งสาวกออกไปเผยแพร่คำสอนอันถือเป็นพระวจนะของพระเจ้าจนได้รับความนิยมจากชาวยิว และเชื่อว่าพระเยซูเป็นเมสสิอาห์ ของยิว ต่อมานักบวชชาวยิวกลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับพระเยซูถือว่ามาปฏิวัติศาสนาและเป็นผู้สร้างคำสอนใหม่ให้ศาสนา จึงพยายามหาทางกำจัดโดยกล่าวหาพระเยซูว่าพยายามซ่องสุมผู้คน เพื่อ กบฎชาวโรมันอันเป็นที่มาของการถูกทหารโรมันจับตรึงไม้กางเขนจนถึงแก่ชีวิต เมื่ออายุ 33 ปี โดยประกาศคำสอนได้เพียง 3 ปี เท่านั้น พวกสาวกที่เลื่อมใสพระเยซูก็ตั้งเป็นศาสนาใหม่ขึ้น เรียกว่า " ศาสนาคริสต์ "

        คัมภีร์สำคัญของศาสนาคริสต์ เรียกว่า " คัมภีร์ใบเบิล " (The Holy Bible) ได้แก่ 1)คัมภีร์ใบเบิลเก่า (The Old Testament) กล่าวถึงประวัติศาสตร์ชนชาติยิวตั้งแต่สมัยอับราฮัมจนถึงสมัยก่อนพระเยซูคริสต์ 2) คัมภีร์ใบเบิลใหม่ (New Testament) กล่าวถึงเรื่องราวตั้งแต่พระเยซูประสูติ จนถึง ค.ศ.100 เป็นเรื่องราวชีวิตของพระเยซูคริสต์ และคำสั่งสอนเรื่องความเชื่อของชาวคริสต์

       ศาสนาคริสต์แบ่งออกเป็น 3 นิกาย ได้แก่ 1)นิกายโรมันคาธอลิก (Catholic) 2)นิกายโปรเตสแตนท์(Protestant) 3) นิกายออร์โธด็อก (Orthodox) โดยมีหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์ คือ 1) เชื่อว่าพระเยซูแห่งเมืองนาซาเรธเป็นศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาคริสต์ 2) เชื่อว่าพระเยซูแห่งเมืองนาซาเรธเป็นผู้สละชีวิตเพื่อไถ่บาปให้มนุษยชาติ 3) เชื่อว่าพระเยซูฟื้นคืนชีพจริง 4)เชื่อในพิธีล้างบาป หรือศีลจุ่ม (Baptism) และพิธีศีลมหาสนิท (Communion) โดยถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 5)เชื่อในวันพิพากษาว่า เมื่อตายจากชีวิตนี้แล้ว จะต้องไปรอรับคำพิพากษาเพื่อการลงโทษและการตอบแทนรางวัล

        คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาธอลิกเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงปัจจุบันมีชาวไทยนับถือศาสนาคริสต์ ทั้งนิกายโรมันคาธอลิกและโปรเตสแตนท์ เป็นจำนวนมาก ทางราชการให้การรับรองเป็นองค์การศาสนาที่อยู่ในความอุปถัมภ์ ดังนี้

        1) นิกายโรมันคาธอลิก มีศูนย์กลางอยู่ที่ นครวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี มีสันตะปาปา เป็นประมุขสูงสุด ในประเทศไทยมีฐานะองค์การทางศาสนาที่ทางราชการให้การรับรองชื่อว่า สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาธอลิก (Catholic Church Thailand) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เขต มิซซัง ได้แก่ มิซซังกรุงเทพ มิซซังราชบุรี มิซซังจันทบุรี มิซซังสุราษฎร์ธานี มิซซังเชียงใหม่ มิซซังนครสวรรค์ มิซซังท่าแร่-หนองแสง มิซซังอุบลราชธานี มิซซังอุดรธานี และมิซซังนครราชสีมา 

         2) นิกายโปรเตสแตนท์ เข้ามาประเทศไทยตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีองค์การทางศาสนาที่ทางราชการรับรองดังนี้ 1) สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย (The Church of Christ in Thailand) 2) สหกิจคริสต์เตียนแห่งประเทศไทย(The Evangelical Fellowship of Thailand) 3) มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสท์ (Foreign Mission Boars) 4) มูลนิธิคริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย (Seventh-day Adventist Church of Thailand)

       ส่วนนิกายออร์โธด็อก ยังไม่มีการเผยแผ่มาสู่ประเทศไทย

รู้จัก! 5 ศาสนา ที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงอุปถัมภ์ ในประเทศไทยแหล่งภาพจาก news.muslimthaipost.com

ศาสนาอิสลาม

        อิสลาม หมายถึง การยอมมอบตนตามประสงค์ของพระผู้เป็น เจ้าโดยสิ้นเชิง ผู้นับถือศาสนาอิสลามเรียกว่า "มุสลิม" แปลว่า ผู้ยอมมอบตนต่อพระเจ้า พระศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมูฮำมัด (นบี หมายถึงผู้แทนพระอัลลอฮ์ หรือพระเจ้าของศาสนาอิสลาม) มูฮำมัด เป็นชาวอาหรับเผ่ากุรอยฮ์ในเมืองเมกกะ (ปัจจุบัน คือ ประเทศซาอุดิอาระเบีย)

        ศาสนาอิสลามเกิดขึ้นในดินแดนทะเลทรายอาหรับ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ในยุคนั้นชาวอาหรับแตกแยกเป็นหลายกลุ่มขาดความสามัคคียากแก่การปกครอง มีการรบพุ่งฆ่าฟันกันตลอดเวลา ไม่มีศาสนาเป็นแก่นสาร คนส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าและรูปเคารพต่าง ๆ ประชาชนไม่มีศีลธรรม สตรีจะถูกข่มเหงรังแกมากที่สุด ภายใต้สภาพสังคมที่เสื่อมทรามเช่นนี้ นบีมูฮำมัด จึงคิดหาวิธีที่จะช่วยปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้น

       นบีมูฮำมัด เป็นผู้ฝักใฝ่ในทางศาสนา หาความสงบและบำเพ็ญสมาธิ ที่ถ้ำฮิรอบนภูเขานูร์ ในคืนหนึ่งของเดือนรอมฎอน ในคัมภีร์ทางศาสนาอิสลามกล่าวว่า กาเบรียลฑูตของพระเจ้า ได้นำโองการของอัลลอฮ์มาประทาน นบีมูฮำมัด ได้นำคำสอนเหล่านี้มาเผยแพร่จนเกิดเป็นศาสนาอิสลามขึ้น

       ในระยะแรกของการเผยแผ่ศาสนา ได้ถูกต่อต้านเป็นอย่างมาก จนถึงกับถูกทำร้าย และได้หลบหนีไปอยู่เมืองมะดีนะฮ์ แต่ก็ยังเผยแผ่จนเป็นที่ยอมรับและมีคนนับถือมากมาย จึงได้กลับมาเมืองเมกกะ และทำการเผยแผ่ศาสนาอิสลามอย่างเต็มที่ การขยายศาสนาอิสลามออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในยุคหลังเป็นไปโดยการใช้สงครามเข้ายึดเมืองเพื่อเผยแผ่ศาสนา

       คัมภีร์ของศาสนาอิสลาม ได้แก่ คัมภีร์ อัล-กุรอาน ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นโองการของพระเจ้าหรืออัลลอฮ์ประทานผ่านทาง นบีมู ฮำมัด มีทั้งหมด 6,660 โองการ 114 ซูเราะห์ (บท) และเชื่อกันว่าโองการเหล่านี้ อัลลอฮ์ประทานมาเป็นระยะ ๆ ตามเหตุการณ์ใช้เวลาถึง 23 ปี จึงเป็นคัมภีร์อัล-กุรอานที่ประกอบด้วย หลักศรัทธา 6 ประการ คือ 1)ศรัทธาต่อพระเจ้า(อัลลอฮ์) 2) ศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะ หรือเทวฑูต 3) ศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ 4) ศรัทธาต่อบรรดารอซู้ล หรือศาสนฑูต (นบี) 5) ศรัทธาต่อวันสิ้นโลก 6)ศรัทธาต่อกฎกำหนดสภาวะการณ์ (ของพระเจ้า) โดยคำว่า " ศรัทธา " หมายถึง ความเชื่อถือ ความเลื่อมใส

       สำหรับหลักปฏิบัติ มี 5 ประการ คือ 1)การปฏิบัติตน "ไม่มีพระเจ้าองค์ใด นอกจากอัลลอฮ์ และมูฮำมัด คือศาสนฑูตแห่งพระองค์" 2) การนมาซ หรือ ละหมาด มุสลิมต้องละหมาดวันละ 5 ครั้ง (ย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ กลางคืน ) การละหมาดอาจทำที่ใดก็ได้ แต่ต้องหันหน้าไปทางเมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย 3) การถือศีลอด 4) การบริจาคซะกาต 5) การประกอบพิธีฮัจญ์

       ศาสนาอิสลามเผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน มีชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามมากเป็นอันดับสอง รองจากศาสนาพุทธ มีองค์กรทางศาสนาที่ราชการรับรอง เรียกว่าสำนักจุฬาราชมนตรี โดยมีจุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำสูงสุด มีโครงสร้างการบริหารเป็นกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการกลางอิสลามประจำมัสยิด ในแต่ละมัสยิด(สุเหร่า) มีอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ประเภทละ 1 คนรวม 3 คน เป็นผู้ปกครองดูแลสัปปุรุษ

รู้จัก! 5 ศาสนา ที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงอุปถัมภ์ ในประเทศไทยแหล่งภาพจาก religioninthai.blogspot.com

ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

         ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาเดียวกัน โดยศาสนาฮินดูพัฒนามาจากศาสนาพราหมณ์และเกิดในยุคพระเวท พวกอารยันซึ่งเป็นพวกผิวขาวได้เดินทางมาจากตอนใต้ของรัสเซียเข้ามาขับไล่พวกดราวิเดียนซึ่งเป็นพวกผิวดำ และเป็นชนพื้นเมืองเดิมของพวกอินเดีย พวกดราวิเดียนบางพวกหนีไปอยู่ศรีลังกาและไปเป็นชนพื้นเมืองเดิมของ ศรีลังกา บางพวกได้สืบเชื้อสายผสมผสานเผ่าพันธุ์กับพวกอารยันกลายเป็นคนอินเดียในปัจจุบัน คนอารยันนับถือ พระอาทิตย์ ส่วนพวกชนพื้นเมืองเดิมนับถือไฟ พวกอารยันเห็นว่าความเชื่อของตนเข้ากันได้กับพวกดราวิเดียน จึงได้เผยแพร่ความเชื่อของตนโดยชี้ให้เห็นว่าดวงไฟที่ยิ่งใหญ่ นั้นคือดวงอาทิตย์ จึงควรนับถือพระอาทิตย์ซึ่ง เป็นที่มาของไฟทั้งปวงในโลกมนุษย์ทำให้แนวความคิดของชนพื้นเมืองเดิมกับพวกอารยันผสมผสานเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นศาสนาพราหมณ์

          ศาสนาพราหมณ์- ฮินดู ได้เกิดขึ้นและเผยแผ่มาเป็นเวลานานตั้งแต่1,000 ปี ก่อนพุทธกาล ทำให้แนวคิดทางศาสน าแตกต่างกันมาก จึงแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ 3 ยุค คือ 

         1) ยุคพระเวท ประมาณ 100 -1,000 ปี ก่อนพุทธกาล ได้เกิดคัมภีร์

พระเวทขึ้นประกอบด้วยคัมภีร์ 4 เล่ม คือ คัมภีร์ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า คัมภีร์ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายันและบวงสรวงต่าง ๆ คัมภีร์สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์ และขับกล่อมเทพเจ้า และ คัมภีร์อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคม หรือเวทมนต์

          2) ยุคพราหมณ์ ประมาณ 100 ปี ก่อนพุทธกาล 

          3) ยุคฮินดู ตั้งแต่ พ.ศ. 700 เป็นต้นมา

         ในตอนปลายยุคพระเวทอิทธิพลของพราหมณ์ได้ก้าวถึงจุดสูงสุด ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาพิธีกรรมมีความสลับซับซ้อนกลายเป็นสิ่งที่มีความขลัง และศักดิ์สิทธิ์ทั้งนี้รวมไปถึงการแปลความหมายของคัมภีร์พระเวทและได้เกิดระบบวรรณะขึ้น 4 วรรณะ คือ 

          1) วรรณะพราหมณ์ มีหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า สั่งสอนศาสนาและประกอบพิธีกรรมแก่ประชาชนทุกวรรณะมีหน้าที่ศึกษา จดจำและสืบต่อคัมภีร์พระเวท

          2) วรรณะกษัตริย์ ได้แก่พวกนักรบ ทำหน้าที่ป้องกันชาติบ้านเมือง และทำศึกสงคราม

          3) วรรณะแพศย์ เป็นวรรณะของคนส่วนใหญ่ในสังคมได้แก่ ผู้ประกอบพาณิชกรรม เกษตรกรรม

          4) วรรณะศูทร เป็นวรรณะของพวกกรรมกรผู้ใช้แรงงาน นอกจากนี้ยังมีพวกนอกวรรณะ ซึ่งเกิดจาก การแต่งงานข้ามวรรณะ เรียกว่า " จัณฑาล " ซึ่งเป็นที่รังเกียจของทุกวรรณะ

          ในประเทศไทยศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้เผยแผ่เข้ามาในสุวรรณภูมิก่อนพุทธกาล ดังหลักฐานจากโบราณสถานที่ต่าง ๆ ในยุคขอมเรืองอำนาจ พิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตไทยผสมกลมกลืนกับพิธีกรรมทางพระ พุทธศาสนา และเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีที่สำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ตราบถึงปัจจุบัน 

          ศาสนาพราหมณ์มีองค์การทางศาสนาดูแลรับผิดชอบและเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักพระราชวัง คือ สำนักพราหมณ์พระราชครู มีสำนักงานอยู่ที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร

         สำหรับศาสนาฮินดูนั้น เป็นศาสนาของชาวอินเดียที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีองค์การทางศาสนา 2 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สมาคมฮินดูสมาซ 2)สมาคมฮินดูธรรมสภา ทั้งสองหน่วยงานตั้งอยู่ที่บริเวณเสาชิงช้า ด้านตะวันออกของวัดสุทัศน์เทพวราราม และซอยวัดดอน ยานนาวา กรุงเทพมหานคร

รู้จัก! 5 ศาสนา ที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงอุปถัมภ์ ในประเทศไทยแหล่งภาพจาก YouTube

ศาสนาซิกข์

          ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาที่มุ่งสอนให้มนุษย์ทำความดีละความชั่ว สอนให้พิจารณาที่เหตุ และให้ยับยั้งต้นเหต ุด้วยสติปัญญา ตำหนิในสิ่งที่ควรตำหนิ และชมเชยในสิ่งที่ควรชมเชย สอนมนุษย์รักกันฉันท์มิตรพี่น้อง รู้จัก ให้อภัยต่อกัน สอนให้เข้าใจถึงการทำบุญ และการทำทาน ให้ละเว้นบาปทั้งปวง สอนให้เราทั้งหลายทราบว่า ไม่มีสิ่งใดมีอนิสงส์เสมอภาวนา สรรพสิ่งทั้งมวลย่อมแตกดับตามกาลเวลา

          ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ประมาณ 5 ศตวรรษกว่าล่วงมาแล้ว มีพระศาสดา นานักเทพ เป็นองค์พระปฐมบรมศาสดา ทรงประสูตร เมื่อ พ.ศ. 2012 ณ หมู่บ้านติวัลดี ปัจจุบัน คือประเทศปากีสถาน และมีพระศาสดาสืบทอดศาสนามาอีก 9 พระองค์ คือ พระศาสดาอังฆัตเทพ พระศาสดาอมรดาส พระศาสดา รามดาส พระศาสดาอรชุนเทพ พระศาสดาหริโควินท พระศาสดาหริราย พระศาสดาหริกริชัน พระศาสดา เตฆบหาฑรู พระศาสดาโควินทสิงห์ รวมทั้งสิ้น 10 พระศาสดา พระศาสดาโควินทสิงห์ ซึ่งเป็นพระศาสดา องค์สุดท้าย ได้บัญญัติให้ชาวซิกข์ยึดถือในธรรมะอย่างเดียว นับว่าเป็นการยุติการสืบทอดศาสนาโดยบุคคล อย่างสิ้นเชิง ในขณะที่พระองค์ยังมีชนม์ชีพอยู่ พระศาสดาได้ลิขิตและรวบรวมไว้เป็นเล่มเรียกว่า " พระมหาคัมภีร์ อาทิครันถ์ " 

นอกจากนี้พระศาสดาโควินทสิงห์ ได้บัญญัติให้ชาวซิกข์ทุกคนยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดดังนี้ 

          ต่อจากพระองค์แล้ว จะไม่มีพระศาสดาเป็นบุคคลสืบต่อไปอีกเด็ดขาด ทั้งนี้เพราะพระองค์ได้มอบพระโชติไว้ในพระคัมภีร์ อาทิครันถ์ แล้ว และได้อันเชิญพระคัมภีร์อาทิครันถ์ เป็นพระศาสดานิรันดร

          พระคัมภีร์อาทิครันถ์ ที่เป็นพระศาสดานิรันดรของชาวซิกข์นั้น เป็นที่รวมคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า ( กรตาปุรุข ) ที่พระศาสดานำมาเผยแพร่ พระศาสดาโควินทสิงห์ ทรงมีรับสั่งชาวซิกข์ไว้ว่า ด้วยโองการของพระเจ้า กรตาปุรุข จึงได้จัดตั้งอาณาจักรมีบัญชาถึงชาวซิกข์ทุกคนให้ถึงองค์พระคัมภีร์อาทิครันถ์ เป็นพระศาสดานิรันดร ผู้ใดใคร่พบพระองค์ขอให้เปิดพบได้ในพระคัมภีร์อาทิครันถ์ เท่านั้น ผู้ที่เชื่อในพระคัมภีร์อาทิครันถ์ เท่ากับว่าได้เชื่อพระองค์โดยตรง ทั้งนี้เพราะคำสอนทั้งหมดที่จารึกไว้นั้น เป็นคำสั่งสอนและคำสัญญาของพระเจ้า กรตาปุรุข ทั้งสิ้น คำสอนนี้เป็นทั้งรูปและนามของพระองค์ ( กรตาปุรุข ) ผู้ใดระลึกถึงธรรมของพระองค์ พระองค์ก็ทรงประทับอยู่ด้วย ผู้ใดนับถือพระคัมภีร์อาทิครันถ์นี้แล้ว เท่ากับว่าได้บูชาในพระเจ้าแล้ว (กรตาปุรุข) และจะหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร พระธรรมเป็นสัญญาลักษณ์อมตะของพระเจ้า กรตาปุรุข

          ดังนั้นชาวซิกข์ทุกคน กราบไหว้บูชา เคารพนับถือพระคัมภีร์อาทิครันถ์ เป็นพระศาสดานิรันดร จวบจนปัจจุบันเป็นเวลากว่า 300 ปี และตลอดไปชั่วกาลนาน

          พระคัมภีร์ อาทิครันถ์ ที่พระศาสดานำมาเผยแพร่ มีความหมายถึง 1,430 อังสะ (ส่วน หรือตอน) ชาวซิกข์จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจะต้องอัญเชิญพระคัมภีร์ ไปประดิษฐานเป็นองค์พระประธาน สวดมนต์และถวายปรนนิบัติโดยอัญเชิญพระธรรมในคัมภีร์ หนึ่งโศลค (บท) ก่อน แล้วอาราธนาคุณพระผู้เป็นเจ้ากรตาปุรุข จึงจะถือว่าพิธีนั้นเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์

          ปัจจุบันชาวซิกข์ มีศูนย์สาขา ณ สุวรรณวิหาร นครอมฤตสระ แคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย และมีศูนย์กลางศาสนาในประเทศไทย ณ สมาคมศรีคุรุสิงห์สถา ซึ่งเป็นศูนย์รวมซิกข์สนิกชน ตั้งอยู่เลขที่ 565 ถนนจักรเพชร กรุงเทพมหานคร

ขอบคุณข้อมูลจาก http://lookky8.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

แชร์