พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะ ในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ : เพราะสวยบาดใจจึงต้องให้บวช

พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะ ในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ : เพราะสวยบาดใจจึงต้องให้บวช : แม้เป็นพระอรหันต์ก็ยังต้องรับผลวิบากกรรม : บุพกรรมใดทำให้มีรูปงามผิวงามดังดอกบัว http://winne.ws/n7513

8.4 พัน ผู้เข้าชม
พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะ ในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ : เพราะสวยบาดใจจึงต้องให้บวชขอบคุณภาพจาก www.palungdham.com

พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์

พระอุบลวรรณาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้นางว่า
“อุบลวรรณา” ตามนิมิตลักษณะที่นางมีผิวพรรณเหมือนกลับดอกอุบลเขียว

เพราะสวยบาดใจจึงต้องให้บวช

เมื่อนางเจริญวัยเข้าสู่วัยสาว นอกจากจะมีผิวงามแล้วรูปร่างลักษณะยังงดงามสุดเท่าที่จะ หาหญิงอื่นทัดเทียมได้ จึงเป็นที่หมายปองต้องการของพระราชาและมหาเศรษฐีทั่วทั้งชมพูทวีป ซึ่งต่างก็ส่งเครื่องบรรณาการอันมีค่าไปมอบให้พร้อมกับสู่ขอเพื่ออภิเษกสมรสด้วย

ฝ่ายเศรษฐีผู้บิดาของนางรู้สึกลำบากใจด้วยคิดว่า “เราไม่สามารถที่จะรักษาน้ำใจของคนทั้งหมดเหล่านี้ได้ เราควรจะหาอุบายทางออกสักอย่างหนึ่ง” แล้วจึงเรียกลูกสาวมาถามว่า:-

“แม่อุบลวรรณา เจ้าจะสามารถบวชได้ไหม ?”

นางได้ฟังคำของบิดาแล้วรูสึกร้อนทั่วสรรพางค์กายเหมือนกับมีคนนำเอาน้ำมันที่เคี่ยว ให้เดือด ๑๐๐ ครั้ง ราดลงบนศีรษะของนาง ด้วยว่านางได้สั่งสมบุญมาแต่อดีตชาติ และการเกิด ในชาตินี้ก็เป็นชาติสุดท้ายของนาง ดังนั้น นางจึงรับคำของบิดาด้วยความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เศรษฐีผู้บิดาจึงพานางไปยังสำนักของภิกษุสงฆ์แล้วให้บวชเป็นที่เรียบร้อย

เมื่อนางอุบลวรรณาบวชได้ไม่นาน ก็ถึงสาระที่จะต้องไปทำความสะอาดโรงอุโบสถ เธอได้จุดประทีปเพื่อขจัดความมืดแล้วกวาดโรงอุโบสถ เห็นเปลวไฟที่ดวงประทีปแล้วยึดถือเอา เป็นนิมิตร ขณะที่กำลังยืนอยู่นั้นได้เข้าฌานมีเตโช กสิณเป็นอารมณ์ แล้วกระทำฌานนั้นให้เป็น ฐานเจริญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญาทั้งหลาย ณ ที่นั้นนั่นเอง

เมื่อพระเถรีสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เที่ยวจาริกไปยังชนบทต่าง ๆ แล้วกลับมาพัก
ที่ป่าอันธวัน สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคยังมิได้ทรงบัญญัติห้ามภิกษุณีอยู่ในป่าเพียงลำพัง ประชา
ชนได้ช่วยกันปลูกกระท่อมไว้ในป่าพร้อมทั้งเตียงตั่งกั้นม่านแล้วถวายเป็นที่พักแก่
พระเถรีนั้น

บวชแล้วยังต้องรับวิบากกรรม (ถูกข่มขืน)

ฝ่ายนันทมาณพ ผู้เป็นลูกชายของลุงของพระเถรีนั้น มีจิตหลงรักนางตั้งแต่ยังไม่บวชเมื่อ ทราบข่าวว่าพระเถรีมาพักที่ป่าอันธวันใกล้เมืองสาวัตถี จึงได้ถือโอกาสขณะที่พระเถรีเข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถีนั้น ได้เข้าไปในกระท่อมหลบซ่อนตัวอยู่ เมื่อพระเถรีกลับมาแล้ว เข้าไปในกระท่อมปิดประตูแล้วนั่งลงบนเตียง ขณะที่สายตายังไม่ปรับเข้ากับความมืดในกระท่อม นันทมาณพก็เข้าข่มขืนพระเถรี ถึงแม้พระเถรีจะร้อง

ห้ามว่า:-“เจ้าคนพาล เจ้าอย่าพินาศฉิบหายเลย เจ้าคนพาล เจ้าอย่าพินาศฉิบหายเลย” นันทมาณพ ก็ไม่ยอมเชื่อฟัง ได้ทำการข่มขืนพระเถรีสมปรารถนาแล้วก็หลีกหนีไป พอเขาหลบหนีไปได้ไม่ไกล

ครั้งนั้น แผ่นดินใหญ่ประดุจว่า ไม่อาจจะทรงโทษของเขาไว้ได้ แยกออกเป็น ๒ ส่วนแล้ว เขาเข้าไปสู่แผ่นดิน ไปเกิดในอเวจีมหานรกแล้ว 

ฝ่ายพระอุบลวรรณาเถรี ก็มิได้ปิดบังเรื่องราวที่เกิดขึ้น ได้บอกแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นกับตน นั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ต่อจากนั้นเรื่องราวของพระเถรีก็ทราบถึงพระบรมศาสดา 

พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะ ในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ : เพราะสวยบาดใจจึงต้องให้บวชขอบคุณภาพจาก www.youtube.com

พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า:-“คนพาล ย่อมร่าเริงยินดีในบาปกรรมลามกที่ตนกระทำประดุจว่าดื่มน้ำผึ้งที่มีรสหวาน จนกว่าบาปกรรมนั้นจะให้ผล จึงจะได้ประสบกับความทุกข์ เพราะกรรมนั้น” พระขีณาสพเหมือนไม้แห้งไม้ผุ

เมื่อกาลเวลาล่วงไปภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์ของพระ อุบลวรรณาเถรี นั้นว่า:-

“ท่านทั้งหลาย เห็นทีพระขีณาสพทั้งหลาย คงจะยังมีความยินดีในกามสุข คงจะยังจะพอใจในการเสพกาม ก็ทำไมจะไม่เสพเล่า เพราะท่านเหล่านั้นมิใช่ไม้ผุ มิใช่จอมปลวก อีกทั้งเนื้อหนังร่างกายทั่วทั้งสรีระก็ยังสดอยู่ ดังนั้น แม้จะเป็นพระขีณาสพก็ชื่อว่ายังยินดีในการเสพกาม”

พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามทรงทราบเนื้อความที่พวกภิกษุเหล่านั้นสนทนากัน

แล้วจึงตรัสว่า:-

“ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลายนั้นไม่ยินดีในกามสุข ไม่เสพกามเปรียบเสมือน หยาดน้ำตกลงในใบบัวแล้วไม่ติดอยู่ ย่อมกลิ้งตกลงไป และเหมือนกับเมล็ดพันธุ์ผักกาด ย่อมไม่ติดตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉันใด ขึ้นชื่อว่ากามก็ย่อมไม่ซึมซาบ ไม่ติดอยู่ในจิตของพระ ขีณาสพ ฉันนั้น”

ห้ามภิกษุณีอยู่ป่า

ต่อมาพระบรมศาสดา ทรงพิจารณาเห็นภัยอันจะเกิดแก่กุลธิดาผู้เข้ามาบวชแล้วพักอาศัยอยู่ในป่า อาจจะถูกคนพาลลามกเบียดเบียนประทุษร้าย ทำอันตรายต่อพรหมจรรย์ได้ จึงรับสั่งให้เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลมาเฝ้า ตรัสให้ทราบพระดำริแล้ว ขอให้สร้างที่อยู่อาศัยเพื่อนางภิกษุณีสงฆ์ในที่บริเวณใกล้ ๆ พระนคร และตั้งแต่นั้นมา ภิกษุณีก็มีอาวาสอยู่ในบ้านในเมืองเท่านั้น

พระอุบลวรรณาเถรี ปรากฏว่าเป็นผู้ชำนาญในการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในวันที่ พระบรมศาสดาทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์นั้น พระเถรีก็กราบทูลอาสาขอแสดงฤทธิ์เพื่อต่อสู้กับพวกเดียรถีย์แทนพระพุทธองค์ด้วย และทรงอาศัยเหตุนี้จึงได้ทรงสถาปนาพระอุบลวรรณาเถรี นี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์ และเป็นอัครสาวิการฝ่ายซ้าย

อ้างอิงเนื้อหาจาก http://www.84000.org/one/2/03.html

เป็นพระอรหันต์แล้วยังถูกทำร้าย (ถูกข่มขืน)

พระอุบลวรรณาเถรีนั้น ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในฌาน สุขในผล และสุขในพระนิพพาน วันหนึ่ง พิจารณาถึงโทษ ความทราม และความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย เมื่อกล่าวย้ำคาถาที่เห็นโทษของกามพระเถรีเกิดความสลดใจ เฉพาะการอยู่ร่วมสามี (ลูกชาย) ระหว่างมารดากับธิดาในอดีตชาติ  

พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะ ในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ : เพราะสวยบาดใจจึงต้องให้บวชขอบคุณภาพจาก board.palungjit.org

บุพกรรมของพระนางอุบลวรรณาเถรี (ทำให้รูปงามผิวสวย)

พระเถรีแม้รูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ก็บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี รู้เดียงสาแล้วก็ไปเฝ้าพระศาสดา พร้อมกับมหาชนฟังธรรม เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศของเหล่าภิกษุณีผู้มีฤทธิ์ จึงถวายมหาทานแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ๗ วันปรารถนาตำแหน่งนั้น นางกระทำกุศลจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ 

ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ก็ถือปฏิสนธิในพระราชมณเฑียรของพระเจ้ากาสี พระนามว่า กิงกิ กรุงพาราณสี เป็นพระราชธิดาองค์หนึ่ง ระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ คือ นางสมณี นางสมณคุตตา นางภิกขุนี (ภิกขุณี) นางภิกขุทาสิกา นางธัมมา (ธรรมา) นางสุธัมมา (สุธรรมา) และนางสังฆทาสี ครบ ๗ 

พระราชธิดาเหล่านั้น ในบัดนี้ [ครั้งพุทธกาลชาติปัจจุบัน] คือพระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี พระนางกุณฑลเกสีเถรี (พระภัททากุณฑลเกสาเถรี) พระกิสาโคตมีเถรี พระธรรมทินนาเถรี และนางวิสาขา ครบ ๗ 

ทรงประพฤติพรหมจรรย์อยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี สร้างบริเวณถวายพระภิกษุสงฆ์แล้วบังเกิดในเทวโลก 

ครั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว ก็กลับมาสู่มนุษยโลกอีก บังเกิดในสถานที่ของคนทำงานด้วยมือตนเองเลี้ยงชีวิต ในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง วันหนึ่งนางกำลังเดินไปกระท่อมกลางนา ระหว่างทางเห็นดอกปทุมบานแต่เช้าตรู่ในสระแห่งหนึ่ง จึงลงสู่สระนั้น เก็บดอกปทุมนั้นและใบปทุม สำหรับใส่ข้าวตอก ตัดรวงข้าวสาลีที่คันนา นั่งในกระท่อม คั่วข้าวตอก จัดวางข้าวตอกไว้ ๕๐๐ ดอก 

ขณะนั้น ที่ภูเขาคันธมาทน์ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งออกจากนิโรธสมาบัติ มายืนไม่ไกลนาง นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ก็ถือเอาดอกปทุมพร้อมด้วยข้าวตอกลงจากกระท่อม ใส่ข้าวตอกลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า เอาดอกปทุมปิดบาตรถวาย 

อ้างอิงเนื้อหาจาก http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6765

แชร์