คำว่า “สัมมา อะระหัง” แปลว่าอะไร ทำไมท่องแล้วจะสำเร็จทุกอย่าง!!

คำภาวนา 5 คำ “สัมมา อะระหัง” สำเร็จทุกอย่างเกินควรเกินคาดเพราะสติ... http://winne.ws/n18309

7.9 หมื่น ผู้เข้าชม

ความหมายของคำว่า “สัมมา อะระหัง”

คำว่า “สัมมา อะระหัง” แปลว่าอะไร ทำไมท่องแล้วจะสำเร็จทุกอย่าง!!https://www.dmc.tv.

"สัมมา อะระหัง" เป็นคำที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำใช้สำหรับบริกรรมภาวนาในการบำเพ็ญสมณธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิ (Meditation) กัมมัฏฐานตามนัยของหลวงปู่อาศัยคำภาวนานี้บริกรรมประกอบกับน้อมนำใจมาไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เมื่อใจหยุดถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงธรรมกายได้

     คำว่า "สัมมา อะระหัง" นี้ เป็นบทพระพุทธคุณที่เราใช้ท่องกันอยู่ประจำ "สัมมา" เป็นศัพท์ที่มีความหมายสูง แปลว่า ชอบ ในพระพุทธคุณ 9 บท ท่านเอาศัพท์นี้เข้าคู่กับ สัมพุทโธ เป็น สัมมาสัมพุทโธ แปลว่าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

     นอกจากใช้ในบทพระพุทธคุณแล้วยังมีใช้ในองค์อริยมรรค 8 ด้วย โดยมีคำว่า สัมมา ควบองค์มรรคอยู่ทุกข้อ เป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น ส่วนศัพท์คำว่า "อะระหัง" เป็นพระพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์

     เมื่อเข้าคู่กันเป็น "สัมมา อะระหัง" ก็แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ คือ ถูกต้อง ไม่ผิดโดยนัยว่าบทบริกรรม สัมมา อะระหัง ของหลวงปู่วัดปากน้ำจึงมีความหมายสูงและอยู่ในขอบข่ายของพุทธานุสสติโดยแท้

     พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า "สัมมา อะระหัง" เป็นพุทธานุสสติ มีประโยชน์ในการเจริญภาวนากัมมัฏฐานมาก" ดังที่ท่านได้อธิบายว่า

     "พุทธานุสติเป็นธรรมประการต้นที่หลวงปู่วัดปากน้ำ สนใจปฏิบัติ และสอนสานุศิษย์เป็นพิเศษทุกครั้งที่ปฏิบัติธรรมจะต้องตั้งใจระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์เพราะพุทธานุสสตินั้นเป็นธรรมให้จิตตื่น ให้จิตสว่าง ให้จิตมีกำลังให้จิตมีความกล้าที่จะปฏิบัติธรรมสืบต่อไป เป็นวิสัยอันดีของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

คำว่า “สัมมา อะระหัง” แปลว่าอะไร ทำไมท่องแล้วจะสำเร็จทุกอย่าง!!https://www.google.co.th

ธรรมดาบุคคลเราถ้าไม่มีอะไรที่พึงยึดแล้วจิตย่อมคอยแต่จะฟุ้งซ่าน จะทำให้สงบอยู่ไม่ได้ จิตจึงต้องมีพุทธคุณยึดเมื่อมีพุทธคุณยึดแล้ว จะหลับก็ตาม จะตื่นก็ตาม จิตย่อมอยู่ในการรักษาทั้งนั้น

เพราะพุทธานุภาพย่อมรักษาคนที่มีสติระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์อยู่เป็นนิตย์

ทั้งยังผลให้ทำการสิ่งใดก็ประสบผลสำเร็จเกินควรเกินคาดไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน เศรษฐกิจการเงิน การเรียนการสอน สุขภาพหรือการใช้ชีวิตประจำวัน...

ที่มา : https://www.dimc.tv

แชร์