ในพระพุทธศาสนา ควรแก้ปัญหา"ทุจริตคอรัปชัน" ด้วยหลักธรรมใด..???

"การคอรัปชัน" ตามประมวลกฏหมายอาญา คือการแสวงหาผลประโยชน์ ที่มิชอบด้วยกฏหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรมตลอดจนความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ความยุติธรรม http://winne.ws/n18362

5.9 หมื่น ผู้เข้าชม
ในพระพุทธศาสนา ควรแก้ปัญหา"ทุจริตคอรัปชัน" ด้วยหลักธรรมใด..???

หลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญ ต่อการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันอย่างไร 

         เราไปดูความหมายของคำว่า “คอร์รัปชัน” กันก่อนนะครับ

          คอรัปชั่น คือการทุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งอำนาจหน้าที่และอิทธิพลที่ตนมีอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น การเห็นแก่ญาติพี่น้อง กินสินบน ฉ้อราษฎร์บังหลวง การใช้ระบบอุปถัมภ์และความไม่เป็นธรรมอื่น ๆ ที่ข้าราชการหรือบุคคลใด ใช้เป็นเครื่องมือในการลิดรอนความเป็นธรรม

      การคอรัปชัน ตามประมวลกฏหมายอาญา คือการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฏหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรมตลอดจนความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ความยุติธรรม ซึ่งกล่าวง่าย ๆ คือ การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรชอบได้ด้วยกฏหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น

       1. การเบียดบังทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต

       2. การใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ

       3. การบอกว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงาน เมื่อทำการเอื้อประโยชน์แก่ตน       

 สาเหตุสำคัญที่เป็นตัวผลักดันทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น

        1. ขาดธรรม ขาดความซื่อสัตย์ต่อตำแหน่งหน้าที่การงานของตน

        2. ขาดอุดมการณ์หรืออุดมคติ คือไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินชีวิต

        3. ได้รับการถ่ายทอดค่านิยมแบบผิด ๆ ในสังคม คือยกย่องคนมีเงินมากกว่าคนดี

       4. ลุ่มหลงในอำนาจ ทำให้ใช้อำนาจไปในทางที่ผิด

        5. มีรายได้ไม่เพียวพอกับรายจ่ายจึงด้นรนที่จะหาทรัพย์นั้นมาแม้ว่าจะได้มาโดยวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม

ในพระพุทธศาสนา ควรแก้ปัญหา"ทุจริตคอรัปชัน" ด้วยหลักธรรมใด..???

พระพุทธศาสนาถือว่าบุคคลขาดหลักธรรมในการดำเนินชีวิตที่เรียกว่า“หลักฆราวาสธรรม 4” คือ หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือนมีอยู่ 4 ประการคือ

        1. สัจจะ คือ ซื่อสัตย์สุจริต,ซื่อตรงและจริงใจต่อหน้าที่การงานของตน

        2. ทมะ คือ การฝึกฝนอบรมตนเอง และข่มใจตนเองไม่ให้ไปยึดติดกับอบายมุข คือความโลภอยากได้ในสิ่งที่ได้ใช่ของของตน, ความโกรธ, ความหลง เป็นต้น

        3. ขันติ คือความอดทน ในที่นี้หมายถึง อดทนต่อกิเลส ต่อสิ่งยั่วยุ ต่อราคะที่จะเข้ามาครองงำจิตใจของตนไม่ให้หลงไปกระทำความผิดนั้นๆ

        4. จาคะ คือการสละ ในที่นี้รวมถึงการสละกิเลส,สละอารมณ์ออกไปจากใจของตน ไม่ยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามายั่วยุจิตใจของเรา

นอกจากหลักธรรมเรื่องของฆราวาสธรรมแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคนจะต้องมีนั่นก็คือหิริ-โอตัปปะ

                           หิริ คือความละลายต่อบาป ละอายต่อการทำความชั่ว

                           โอตัปปะ คือความเกรงกลัวต่อบาปหรือการทำความชั่ว

           หลักธรรมข้อนี้เป็นหลักธรรมที่เตือนสติให้เรายั้งคิด ไตร่ตรองก่อนที่จะกระทำการใด ๆ และผลของการกระทำนั้น ๆ ว่าเป็นผลดีหรือไม่ดีต่อตนเองและคนอื่น เพื่อให้เกิดความละอายใจต่อการทำความชั่ว ต่อการประพฤติทุจริตทั้งหลาย และเกรงกลัวต่อความชั่วต่อผลของความทุจริตที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง

โทษคนอื่นผิดเสมอ

ในพระพุทธศาสนา ควรแก้ปัญหา"ทุจริตคอรัปชัน" ด้วยหลักธรรมใด..???

        แต่สังคมทุกวันนี้บุคคล เริ่มที่จะห่างไกลพระพุทธศาสนา และไม่ให้ความสำคัญต่อคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ขาดหิริ โอตัปปะ ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันไปในวงกว้าง เพราะคิดว่าการทุจริตคอร์รัปชันนั้น เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ เขาก็ทำกัน

        สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นค่านิยมที่ผิด ที่เราต้องหันมาให้ความสำคัญ เพราะถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ ถ้าบ้านเมืองใดขาดคุณธรรม คนในประเทศขาดหลักฆราวาสธรรมและขาดหิริโอตัปปะแล้ว สังคมนั้น ประเทศชาติบ้านเมืองนั้นย่อมเป็นการยาก ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้

        สังคมวุ่นวายเพราะคนในสังคมขาดที่พึ่ง ขาดหลักธรรมที่จะมายึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ยากที่จะหาทางแก้ไขได้ คิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นไม่ผิด เกิดการปลุกฝังนิสัยความเห็นแก่ตัว โลภอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชัน บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสาย เกิดการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ยากที่จะหาความสงบสุขได้

       อย่ามัวแต่หาคนผิดมาลงโทษเพราะเป็นแก้ปัญหาที่ปลายทาง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากอะไร เพื่อที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้ตรงจุด ไม่ใช่มัวแต่โทษคนนั้นคนนี้ โทษกันไปโทษกันมาแล้วเมื่อไหร่ละประเทศชาติจะสงบสุขเสียที คนไทยทะเลาะกันเอง มันก็น่าอายและขาดเครดิตที่ดี ในสายตาชาวต่างประเทศ มิใช่หรือ ?

ในพระพุทธศาสนา ควรแก้ปัญหา"ทุจริตคอรัปชัน" ด้วยหลักธรรมใด..???

หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ถึงแม้จะรู้ แต่ถ้าไม่รู้จักนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มันก็ยากที่จะทำให้คนในสังคมสื่อสารกันให้เข้าใจได้ คนไทยถือว่าโชคดีที่มีพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ 

        ดังนั้นอย่าปล่อยให้พระพุทธศาสนา เป็นเพียงศาสนาที่เรานับถือตาม ๆ กันมา  เพราะคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นหลักธรรมที่จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน อย่างสงบสุขได้ โดยไม่ต้องอาศัย ตำแหน่งหรืออำนาจหน้าที่ใด แค่รู้จักคำว่า “พอ” แค่นี้ทุกคนก็จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้  ประเทศชาติก็จะร่มเย็นเพราะอาศัยหลักธรรมคำสอน ของพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

ในพระพุทธศาสนา ควรแก้ปัญหา"ทุจริตคอรัปชัน" ด้วยหลักธรรมใด..???

        การปลูกฝังเด็ก ๆ ให้มีความเข้าใจ ในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยทำให้ประเทศชาติของเรา ลดปัญหาการคอร์รัปชันได้มาก เพราะเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า ถ้าเขาได้ถูกปลุกฝังในสิ่งที่ดี ๆ เชื่อว่าในอนาคตข้างหน้าเด็กเหล่านี้จะกลายกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศชาติ ให้เจริญรุ่งเรืองปราศจากการคอร์รัปชันได้ในที่สุด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://mamoketio.blogspot.com/2017/08/1.html

แชร์