วัยรุ่นไทยสร้างชื่อ ! เผย 3 แชมป์นวัตกรรม พร้อมต่อยอดเพื่อใช้จริง

งานสร้างสรรค์นวัตกรรมนักศึกษาไทย สู่สตาร์ตอัพ From Creativity & Innovation To Startups ประจำปี 2016 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่นำเสนอผลงานเกือบ 500 ชิ้นจาก 10 ภาควิชา http://winne.ws/n2896

1.2 พัน ผู้เข้าชม
วัยรุ่นไทยสร้างชื่อ ! เผย 3 แชมป์นวัตกรรม  พร้อมต่อยอดเพื่อใช้จริง

ถือเป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่เป็นเครื่องยืนยันความก้าวหน้าของวงการการศึกษาและวิศวกรรมของไทย

กำลังพูดถึง งานสร้างสรรค์นวัตกรรมนักศึกษาไทย สู่สตาร์ตอัพ From Creativity & Innovation To Startups ประจำปี 2016 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่นำเสนอผลงานเกือบ 500 ชิ้นจาก 10 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาโทรคมนาคม ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ โยธา เคมี อาหาร อุตสาหการ เครื่องกล คอมพิวเตอร์ การวัดและควบคุม

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมด้วยองค์ความรู้และสมาร์ทเทคโนโลยี เปิดเวทีคนรุ่นใหม่ และเปิดโอกาสให้เจ้าของนวัตกรรมและผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนมาพบปะกันในงานนี้ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือและต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป

ผลงานที่คว้ารางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยม Best Exhibition Award 2016

วัยรุ่นไทยสร้างชื่อ ! เผย 3 แชมป์นวัตกรรม  พร้อมต่อยอดเพื่อใช้จริงทีมผู้สร้างแอพลิเคชั่น Pathly

พาร์ทลี่ (Pathly) ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก

1.Mobile Application ให้คนทั่วไปเข้าใช้งาน ค้นหาเส้นทางด้วยบริการระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ ด้วยสองปัจจัยคือ เวลาและค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเดินทาง อีกทั้งค้นหา-เลือกบริการระบบขนส่งสาธารณะได้ เช่น ไม่ต้องการเดินทางด้วยรถเมล์ร้อน ก็สามารถ exclude บริการนี้ออกจากการค้นหาได้ โดยปัจจุบันเป็นเราทำต้นแบบ (prototype) ที่ทางทีมสร้างเป็น Android Application โดยใช้ Android Native ภาษา Java ในการพัฒนา

2.Web Application สำหรับให้ผู้ดูแลระบบเข้ามาจัดการข้อมูลของบริการระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ ได้ และสามารถจัดการเกี่ยวกับรายงานข้อผิดพลาดต่างๆ ที่ผู้ใช้รายงานเข้ามาในระบบ เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบมากขึ้น โดยใช้ Spring Framework ในการพัฒนา

3.Pathly Service ซึ่งจะเป็น Web Service ที่ประมวลผลข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูลเพื่อค้นหาเส้นทางโดยใช้อัลกอริทึมที่ทีมงานเขียนไว้ ซึ่งพัฒนาส่วนนี้โดยใช้ Spring Framework

4.Database เป็นฐานข้อมูลในลักษณะของ Graph Database นำมาจัดเก็บข้อมูลบริการระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ เช่นข้อมูลสถานี ข้อมูลเส้นทางเดินรถ ฯลฯ โดยใช้ OrientDB มาจัดทำฐานข้อมูล

สำหรับ จุดเด่นของพาร์ทลี่ (Partly) คือ แนะนำเส้นทางได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โดยพิจารณาเส้นทางจากค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้เดินทาง อีกทั้งสามารถใช้บริการได้ทั้งบนโทรศัพท์มือถือและเว็บไซต์ และแจ้งเตือนเมื่อเดินทางถึงสถานที่ปลายทางอีกด้วย ในขั้นต่อไปคาดว่าจะสามารถพร้อมให้คนทั่วไปทดลองใช้งานได้ฟรีในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า และจะพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ โดยเพิ่มข้อมูลสถานที่เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารฯ ได้ โดยใช้แอพพลิเคชั่นนำทาง รวมทั้งพัฒนาระบบค้นหาเส้นทางที่สั้นที่สุดเพื่อวางแผนขนส่งสินค้าให้มีต้น ทุนต่ำลง

วัยรุ่นไทยสร้างชื่อ ! เผย 3 แชมป์นวัตกรรม  พร้อมต่อยอดเพื่อใช้จริงผู้ชนะจากระบบแจ้งเตือนโจรกรรมจักรยานยนต์

ระบบป้องกัน ‘โจรกรรม’

จอดมอ’ไซค์ ปลอดภัยหายห่วง

นวัตกรรมต่อมาคือ ระบบแจ้งเตือนโจรกรรมรถจักรยานยนต์ (Motorcycle Alarm and Tracking System) โดยธนาศักดิ์ ชมจุรัย และธนัท เมษพันธุ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม

ผลงานนี้ได้แรง บันดาลใจจากสังคมไทยซึ่งนิยมใช้รถจักรยานยนต์มากถึง 19 ล้านคันทั่วประเทศ ซึ่งปัญหาการโจรกรรมก็มากตามไปด้วย เพราะโจรกรรมได้เร็ว และนำไปขายต่อได้ราคาดี

ธนาศักดิ์กล่าวว่า ทีมงานจึงต้องการสร้างระบบการแจ้งเตือนการโจรกรรมและติดตามตำแหน่งของรถที่ ถูกขโมยด้วยวิธีง่ายๆ และมีประสิทธิภาพ โดยทำงานผ่านเซ็นเซอร์ความเร่งแบบ 3 แกน ที่ใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของรถจักรยานยนต์และรีเลย์เป็นสวิตช์ตัดการ จ่ายไฟให้กับรถจักรยานยนต์ โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ในการประมวลผล ถ้าหากเกิดการเคลื่อนที่ที่ผิดปกติเกิดขึ้น จะมีการแจ้งเตือนด้วยเสียงจากแตรของรถจักรยานยนต์และใช้จีพีเอสโมดูล (GPS Module) ในการโทรแจ้งเจ้าของรถผ่านโทรศัพท์ และระบุตำแหน่งของรถจักรยานยนต์ แล้วส่งข้อมูลพิกัดตำแหน่งไปจัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ โดยเจ้าของรถจักรยานยนต์สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวในฐานข้อมูลผ่านเว็บ เบราเซอร์ ทั้งนี้การทำงานดังกล่าวสามารถสั่งการผ่านรีโมตคอนโทรลเลอร์

“จุดเด่นที่แตกต่างจากเครื่องกันขโมยในท้องตลาด คือ การใช้เซ็นเซอร์ความเร่ง 3 แกนมาประมวลผลและวิเคราะห์การโจรกรรมทำให้สามารถตรวจจับเฉพาะกรณีที่เสี่ยง จะถูกโจรกรรมได้จริงๆ และการโทรเข้าโทรศัพท์ของเจ้าของรถจะไม่เสียเงิน เพราะสามารถกดวางได้และแจ้งเตือนเจ้าของได้จริง ในขณะที่เครื่องกันขโมยตามท้องตลาดจะใช้เซ็นเซอร์แรงสั่นสะเทือนที่จะแจ้ง เตือนทันทีที่รถสั่น ซึ่งการสั่นนั้นอาจเกิดจากการที่มีรถวิ่งผ่านหรือมีคนมาขยับรถเพื่อจะถอยรถ ก็ได้ อีกทั้งส่งแจ้งเตือนเจ้าของรถผ่านการส่ง sms ซึ่งจะเสียเงินทุกๆ ครั้งที่ส่ง” ธนาศักดิ์กล่าว

สำหรับราคาต้นทุนของอุปกรณ์แจ้งเตือน การโจรกรรมรถจักรยานยนต์ (Motorcycle alarm and tracking system) นี้อยู่ที่ 2,500 บาท ในอนาคตจะพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นที่สามารถสั่งสตาร์ตรถและดับเครื่องยนต์ได้ ผ่านรีโมตคอนโทรลเลอร์ หรือ แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์ รวมถึงซ่อนกล้องเพื่อถ่ายหน้าขโมยได้ด้วย พร้อมทำแบตเตอรี่แบคอัพให้กับอุปกรณ์

วัยรุ่นไทยสร้างชื่อ ! เผย 3 แชมป์นวัตกรรม  พร้อมต่อยอดเพื่อใช้จริงทีมผู้สร้างนวัตกรรม Traffic Management

เก็บข้อมูล พร้อมนำเสนอ

แก้ปัญหาจราจรติดขัด

และอีกหนึ่งนวัตกรรมที่คว้างรางวัล Best Exhibition Award 2016 คือ แนวทางการจัดการจราจรบริเวณถนนฉลองกรุงช่วงพาดผ่าน สจล. โดยอาศัยแบบจำลองระดับจุลภาค (Traffic management) ผลงานของพีรวัฒน์ พงศ์ศิริปรีชา นันท์นภัส ครุธศรี และอชิรญา ชื่นกิติญานนท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สจล.

พีรวัฒน์บอกว่า “ผลงาน Traffic Management นี้มีแรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์การใช้รถใช้ถนนบริเวณถนนฉลองกรุง แคมปัส สจล. ที่มีปัญหารถติดสะสมมากทุกเช้า-เย็น ทำให้สูญเสียพลังงาน บั่นทอนคุณภาพชีวิต และเพิ่มมลพิษในสิ่งแวดล้อม จึงต้องการปรับปรุงการจราจรให้ดีขึ้น จึงคิดค้นแบบจำลอง (Simulation) แนวทางการแก้ปัญหาจราจร ที่แสดงผลในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว 3D Animation, ข้อมูลชุดตัวเลขทางด้านวิศวกรรมจราจร และจัดทำรายงานผลการศึกษาบุคคลทั่วไปที่แม้ไม่มีความรู้ทางด้านวิศวกรรม จราจรก็เข้าใจได้โดยง่าย

แบบจำลองนี้ศึกษาและเก็บข้อมูลจาก 4 ปัจจัยในการจราจรคือ 1.เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการเดินทางช่วงรถติด 2.ช่วงเวลาล่าช้า (Delay Time) 3.ความเร็วเฉลี่ยของรถ 4.ระยะทางที่รถเรียงคิวต่อกันขณะรถติด หลังจากนั้นจึงทำข้อมูลที่ได้ว่าวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาการจราจรได้ 2 แผน ซึ่งมีข้อเสนอเพื่อปรับปรุงการจราจร เช่น สร้างวงเวียนแทนการใช้สัญญาณไฟจราจร ปรับปรุงถนนให้ดีขึ้น ขยายเลนถนน กำหนดระเบียบการจราจรใหม่ อาทิ ห้ามกลับรถบริเวณสี่แยก

วิธีการแก้ ปัญหาการจราจรที่นำเสนอผ่านผลงาน Traffic management ชิ้นนี้นำเสนอในมิติของวิศวกรรมจราจรเท่านั้น หากหน่วยงานใดต้องการที่จะขยายผลสู่การนำไปใช้งานจริงในอนาคต จะต้องศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) และการออกแบบทางด้านวิศวกรรมการทางด้วย”

นี่คือ 3 รางวัลผลงานชนะเลิศ Best Exhibition Award 2016

เป็นบทพิสูจน์อันแข็งแกร่งถึงความสามารถของนักศึกษาไทย ซึ่งจะเติบโตต่อไปในอนาคต


ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก  

  มติชนออนไลน์

แชร์