เจาะลึก3แคว้นสำคัญเผยแผ่ธรรมะสมัยพุทธกาล

เจาะลึก3แคว้นสำคัญเผยแผ่ธรรมะสมัยพุทธกาล:นอกจากแคว้นสักกะ ที่พระพุทธองค์ประสูติ และแคว้นมัลละที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว จะมีอีก 3 แคว้นที่สำคัญมากต่อการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาลสู่ปัจจุบัน http://winne.ws/n3261

2.7 หมื่น ผู้เข้าชม

แผนที่ 16 แคว้น ที่พระพุทธเจ้าเดินทางเผยแผ่ธรรมะในสมัยพุทธกาล

เจาะลึก3แคว้นสำคัญเผยแผ่ธรรมะสมัยพุทธกาล

เจาะลึก3แคว้นสำคัญเผยแผ่ธรรมะสมัยพุทธกาล

ในชมพูทวีปสมัยพุทธกาลหรือประเทศอินเดียมีอาณาจักรหรือ แคว้นใหญ่ ๆ อยู่รวม ๑๖ แคว้น ตามพระสูตรอุโบสถสูตร ดังนี้คืออังคะ,มคธะ,กาสี,โกสละ,วัชชี,มัลละ,เจตี,วังสะ,กุรุ,ปัญจาละ,มัจฉะ, สุรเสนะ,อัสสกะ,อวันตี,คันธาระ,กัมโพชะ

         นอกจากแคว้นสักกะ ที่พระพุทธองค์ประสูติ และแคว้นมัลละที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว จะมีอีก 3 แคว้นที่สำคัญมากต่อการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาลซึ่งมีผลถึงปัจจุบันมีดังนี้

1.แคว้นมคธ หรือมคธะ

         แคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เป็นราชอาณาจักรยิ่งใหญ่หรือมหาอำนาจหนึ่งในสี่ของชมพูทวีป อีกสามอาณาจักรได้แก่ โกศล วังสะ และอวันตีซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่ สาวัตถี โกสัมพี และอุชเชนี ตามลำดับพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นมคธสมัยนั้น ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินของอังคะด้วยคือพระเจ้าพิมพิสาร แต่มาในปลายสมัยพุทธกาลประมาณ ๘ ปี ก่อนพุทธปรินิพพานได้ถูกพระราชโอรส คือพระเจ้าอชาตศัตรูแย่งราชสมบัติ ด้วยการจับขังจนสิ้นพระชนม์ชีพแล้วพระเจ้าอชาตศัตรู ได้ครองราชสมบัติสืบแทนต่อมา

         แคว้นมคธ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแคว้นอังคะอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกันแคว้นอังคะ ทิศเหนือติดกับแคว้นวัชชีทิศตะวันตกติดกับแคว้นกาสี เมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพุทธกาลนั้น คือราชคฤห์ ทางทิศเหนือจดแม่น้ำคงคา อันเป็นแดนแบ่งเขตของแคว้นมคธกับแคว้นวัชชี

         แคว้นมคธในสมัยพุทธกาล ทรงความสำคัญทั้งในด้านการเมือง การศาสนาการเศรษฐกิจและการทหาร เมืองหลวงของแคว้นคือราชคฤห์ เป็นนครที่เจริญรุ่งเรือง มั่งคั่งสมบูรณ์เป็นที่ชุมนุมอยู่ของศาสดาเจ้าลัทธิ และเศรษฐีมหาเศรษฐีจำนวนมาก

          แคว้นมคธ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างใกล้ชิดและเป็นศูนย์กลางที่สำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา ทั้งในสมัยของพระพุทธองค์และต่อ ๆ มาพระพุทธองค์เมื่อเสด็จออกทรงผนวช ก็ได้เสด็จตรงมายังแคว้นมคธและอาจกล่าวได้ว่าตลอดเวลา ๖ ปี ที่ทรงแสวงหาโมกขธรรม ก่อนได้ตรัสรู้นั้นพระองค์ประทับอยู่ในแคว้นมคธ เหตุการณ์สำคัญในแคว้นมคธ

         1. พระพุทธองค์ ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หรือตรัสรู้ ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม      ซึ่งอยู่ในแคว้นมคธนี้

         2. การประกาศพระศาสนาของพระพุทธองค์ ถึงความเป็นปึกแผ่นหยั่งรากลงได้มั่นคง ที่แคว้น  มคธนี้เป็นแห่งแรก

         3. พระสาวกองค์สำคัญ ๆ เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะและพระมหากัสสปะเป็นต้น ก็เป็น    ชาวมคธหรือคนแคว้นนี้

         4. พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นในสมัยของพระพุทธองค์และต่อมาถึงภายหลังพุทธปรินิพพาน  คือพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าอชาตศัตรูก็ทรงมีส่วนช่วยอย่างสำคัญ ในการประกาศพระ  ศาสนา

          5. วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือวัดเวฬุวนาราม ก็เกิดขึ้นที่แคว้นนี้

          6. การสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัย สองในสามครั้งที่ทำในอินเดียก็ทำที่แคว้นนี้

          พระพุทธศาสนาแผ่ไปยังดินแดนต่าง ๆ ทั้งในและนอกอินเดียในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ก็โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ปาฏลีบุตรอันเป็นเมืองหลวงของแคว้นนี้ในสมัยนั้นพระพุทธศาสนาในอินเดียมั่นคงอยู่ในแคว้นนี้ตลอดมาจนกระทั่งถูกรุกรานและทำลายโดยมุสลิมเตอร์ก เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๗๔๓ (ค.ศ. ๑๒๐๐) 

       สถานที่แคว้นมคธ ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธองค์ และความเป็นมาของพระพุทธศาสนามีอยู่เป็อันมากเพียงในเขตกรุงราชคฤห์ อันเป็นนครหลวงและบริเวณใกล้เคียงเฉพาะที่มีชื่อคุ้นหูก็มีอยู่หลายแห่ง เช่น 

       1. ลัฏฐิวันที่ซึ่งพระพุทธองค์เสด็จประทับ เมื่อเสด็จกรุงราชคฤห์ครั้งแรกหลังตรัสรู้  

       2.เวฬุวนาราม หรือวัดเวฬุวันวัดแห่งแรกในพระศาสนา 

       3. ยอดเขาคิชฌกูฏมีพระคันธกุฏีที่พระพุทธองค์ทรงชอบใช้เป็นที่เสด็จประทับมากแห่งหนึ่ง  

       4. ถ้ำสูกรขาตาสถานที่ที่ท่านพระสารีบุตรได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ 

        5. วัดชีวกัมพวัน หรืออารามสวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจ ที่ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูได้เสด็จมาเฝ้าสารภาพความผิดต่อพระองค์และพระพุทธองค์ได้ทรง แสดงสามัญญผลสูตรถวาย             6. ตโปทา บ่อน้ำร้อน ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวข้องอยู่หลายเรื่อง 

        7. ปิปผลิคูหาถ้ำที่ท่านพระมหากัสสปะชอบใช้เป็นที่พำนัก และพระพุทธองค์เคยได้เสด็จมาเยี่ยม  

        8. ถ้ำสัตตบัณณคูหา ณ ไหล่เขาเวภาระสถานที่ซึ่งท่านพระอรหันต์สังคีติกาจารย์ทั้งหลายประชุมกันทำปฐมสังคายนา

        9. อัมพลัฏฐิกาสถานที่ทรงแสดงพรหมชาลสูตร ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างราชคฤห์กับนาลันทา  

        10. พุหุปุตตกนิโครธระหว่างราชคฤห์กับนาลันทาที่ซึ่งท่านพระมหากัสสปะได้พบและได้รับอุปสมบทจากพระพุทธองค์  

        11. ป่าสีตวันสถานที่ซึ่งท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีมหาอุบาสกได้พบและเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เป็นครั้งแรก 

        12. กาฬสิลาสถานที่ที่ท่านพระโมคคัลลานะถูกพวกเหล่าร้ายทุบตีจนร่างแหลก. 

        13. อินทสาลคูหา แห่งภูเขาเวทิยะสถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงสักกปัญหสูตร แก่ท้าวสักกะ และ

         14. ปาสาณกเจดีย์ที่ซึ่งศิษย์ ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรีเข้าเฝ้าพระพุทธองค์และทูลถามปัญหาเป็นต้นหลายแห่งในจำนวนนี้ยังคงมีซากปรากฏให้เห็นอยู่ที่อื่น ๆซึ่งสำคัญที่ควรระบุถึงอีกบางแห่งก็มี 

         15. อุรุเวลาเสนานิคม สถานที่ตรัสรู้ 

         16. นาลันทา ซึ่งว่ากันในปัจจุบันว่าเป็นหมู่บ้านเกิดของท่านพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ที่ซึ่งในระหว่างพุทธศักราช๑๐๐๐ ถึง ๑๗๐๐ ปีเศษ นาลันทา หรือซากมหาวิทยาลัยนาลันทาอันใหญ่โตและมีชื่อเสียงในอดีตดังกล่าว ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดนาลันทา 

       ได้เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาแห่งพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่ขณะนี้มีซากอันใหญ่โตและกว้างขวางปรากฏให้เห็นอยู่ กับปาฏลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นต่อจากราชคฤห์ซึ่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้เป็นราชธานีที่เจริญรุ่งเรือง สวยงามตระการเป็นศูนย์กลางการปกครองของมหาอาณาจักรโมริยะหรือมารยัน ซึ่งครอบคลุมเนื้อที่เท่าอินเดียปัจจุบันไว้ในอำนาจ 

อุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดคยา เรียกชื่อว่า พุทธคยา 

อโศการาม อันเป็นวัดที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างถวายแด่พระภิกษุสงฆ์และได้เป็นที่ชุมนุมสงฆ์ทำสังคายนาครั้งที่สามภายใต้พระบรมราชูถัมภ์ของพระเจ้าอโศกนั้น

แผนที่ 16 แคว้น ที่พระพุทธเจ้าเดินทางเผยแผ่ธรรมะในสมัยพุทธกาล

เจาะลึก3แคว้นสำคัญเผยแผ่ธรรมะสมัยพุทธกาลเจาะลึก3แคว้นสำคัญเผยแผ่ธรรมะสมัยพุทธกาล

2.แคว้นกาสี

        แคว้นกาสี ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแคว้นมคธ เมืองหลวงชื่อ พาราณสี ก่อนพุทธกาลกาสี เป็นแคว้นที่รุ่งเรืองเข้มแข็งและมีอำนาจมากมาในพุทธสมัยกลับอ่อนกำลังและหมดความสำคัญลง ถึงขั้นต้องขึ้นกับแคว้นโกศลโดยมีพระเจ้าปเสนทิแห่งแคว้นโกศล เป็นพระราชาของแคว้นกาสีนี้ด้วย

         อาณาเขตของแคว้นกาสี มีปรากฏว่าทางทิศตะวันออก ติดกับแคว้นมคธ ทิศเหนือติดกับแคว้นโกศลทิศตะวันตกติดกับแคว้นวังสะ แต่ไม่มีระบุไว้ว่ามีขอบเขตแค่ไหนยกเว้นด้านตะวันออกซึ่งได้พูดถึงแล้ว สำหรับเมืองหลวงของแคว้นพาราณสีต่างกับเมืองอื่น ๆ คือสามารถดำรงมั่นคงอยู่ได้ตลอดมา ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนกระทั่งบัดนี้ ไม่ถูกทิ้งร้างให้เป็นซาก หรือเปลี่ยนสภาพเป็นอื่นไปจนแทนค้นหาไม่พบเหมือนเมืองอื่น ๆยังคงตั้งอยู่ที่เดิมและรักษานามเดิมไว้ได้ตลอดมา ตัวเมืองพาราณสี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคงคา 

        ในสมัยพุทธกาล พาราณสีเป็นเมืองใหญ่และเจริญ เป็นศูนย์ กลางการค้าที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งผ้ากาสีและเครื่องหอมแก่นจันทน์ของแคว้นกาสี เป็นสินค้าซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งในสมัยโน้นและในสมัยนี้

         อิสิปตนะมฤคทายวัน สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธองค์ อยู่ที่แคว้นกาสีนี้ปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ เป็นเขตชานเมืองพาราณสี อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ๑๐ กิโลเมตร ในสมัยพุทธกาล ระยะทางจากพุทธคยาถึงสารนาถ (คือจากอุรุเวลาเสนานิคมถึงอิสิปตนะมฤคทายวัน) มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ว่า ๑๘ โยชน์พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศคำสอนของพระองค์เป็นครั้งแรกที่นี่ ทรงได้พระสาวกองค์แรกถึงองค์ที่๖๐ ที่นี่ ทรงเริ่มงานประกาศพระศาสนาด้วย การส่งพระสาวกรุ่นแรก ๖๐ท่านดังกล่าว ซึ่งเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ให้แยกย้ายกันไปยังที่ต่าง ๆ จากที่นี่

        ที่อิสิปตนะมฤคทายวันหรือสารนาถนี้ นอกจากปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแล้ว พระพุทธองค์ยังได้ทรงแสดงพระสูตรอื่น ๆ อีกหลายสูตรในต่างโอกาสต่างวาระกัน อาทิเช่น 

        อนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปัญจสูตร ปาสสูตร กฏุวิยสูตรรถการสูตร ซึ่งมีชื่ออย่างอื่นอีกว่า ปเจตนสูตร หรือจักกวัตติสูตร กับสมยสูตรและธัมมทินนสูตรผลแห่งการที่ทรงแสดงปฐมเทศนา 

        ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่พระปัญจวัคคีย์ ณ อิสิปตนะมฤคทายวันนี้ ทำให้พระโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าของปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม คือได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้วได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุจากพระพุทธองค์ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นอันได้มีพระภิกษุสาวกองค์แรกขึ้นในพระพุทธศาสนาและได้ทำให้พระสังฆรัตนะอันเป็นองค์หนึ่งแห่งพระรัตนตรัยเกิดขึ้นในโอากาสนั้นทำให้พระรัตนตรัยเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ผลแห่งการที่ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรหรือปัญจสูตร ทำให้พระปัญจวัคคีย์ซึ่งทั้งหมดได้รับอุปสมบทแล้ว ได้บรรลุอรหัตผลเป็นพระอรหันตบุคคลในพระศาสนา

        ณ ที่นี้ พระพุทธองค์ได้ทรงมีพระบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ สืบเนื่องจากการที่นางสุปปิยาอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนาอย่างแรงกล้าได้เฉือนเนื้อจากขาของตนให้ปรุงเป็นน้ำต้มเนื้อ ถวายแก่พระภิกษุรูปหนึ่งผู้มีความต้องการน้ำต้มเนื้อทั้งนี้โดยที่นางได้ปวารณาว่าจะจัดถวายแต่แล้วก็ไม่สามารถจะหาเนื้อตามปกติในท้องตลาดได้

        พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเศรษฐีบิดาพระยสะและท่านเศรษฐีได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ได้แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต เป็นอุบาสกคนแรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะและเป็นคนแรกแห่งอุบาสกบริษัทที่ได้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลมารดาและภรรยาเก่าของพระยสะได้สดับพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโปรดแล้วได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันเช่นกันได้ปฏิญาณตนเป็นอุบาสิกาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ทั้งสองท่านเป็นอุบาสิกาคู่แรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และเป็นคู่แรกในฝ่ายอุบาสิกาบริษัท ที่ได้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลโดยนัยเดียวกันกับฝ่ายอุบาสกพระพุทธรัตนะ และพระธรรมรัตนะ เกิดที่แคว้นมคธพระสังฆรัตนะ เกิดที่แคว้นกาสี พระรัตนตรัยเกิดขึ้นสมบูรณ์ที่แคว้นกาสีพระภิกษุสาวกองค์แรกและอุบาสกอุบาสิกาถึงไตรสรณคมน์เป็นครั้งแรกมีขึ้นที่แคว้นกาสีอุบาสกอุบาสิกาที่ถึงไตรสรณคมน์เป็นครั้งแรก เกิดที่แคว้นกาสี

แผนที่ประเทศอินเดีย และประเทศใกล้เคียง

เจาะลึก3แคว้นสำคัญเผยแผ่ธรรมะสมัยพุทธกาลเจาะลึก3แคว้นสำคัญเผยแผ่ธรรมะสมัยพุทธกาล

3.แคว้นโกศล หรือ โกสละ

        แคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นมคธ โดยมีแคว้นกาสีคั่นอยู่ในระหว่าง ดังนั้นเขตของแคว้นโกศลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จึงติดกับแคว้นกาสี ทางตะวันตกติดกับแคว้นปัญจาละ ทางเหนือติดเทือกเขาหิมาลัยทางตะวันออก ดูตามที่ตั้งของแคว้นต่าง ๆ จะเห็นว่าติดกับแคว้นมัลละและต่อจากมัลละไปก็เป็นแคว้นวัชชี แต่มีบางตำรากล่าวว่า ติดกับเขตของวิเทหะ ซึ่งในสมัยพุทธกาลรวมอยู่ในแคว้นวัชชีเมืองหลวงของแคว้น

        โกศลในพุทธสมัยคือสาวัตถีพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล แคว้นโกศลมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า อูธ ชื่อนี้เลือนมาจากคำว่า อโยธยาอันเป็นชื่อเมืองสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของอินเดีย ในฐานะเป็นเมืองหลวงดั้งเดิมของแคว้นและเป็นเมืองของพระรามตามคัมภีร์รามายณะหรือเรื่องรามเกียรติ์ อโยธยามีความสำคัญดังกล่าว ต่อ ๆมาชื่อเมืองเลยเรียกกันเป็นชื่อแคว้นด้วย เมืองอโยธยา ยังมีอยู่ในปัจจุบันเรียกกันว่า อโยธยาบ้าง ว่าอูธบ้าง และว่าอวัธบ้าง

สาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศลในพุทธสมัยปัจจุบันได้แก่ซากซึ่งเรียกว่าสาเหตและมาเหต ซากซึ่งเรียกว่าสาเหต คือ พระเชตวันมหาวิหาร วัดซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในพุทธสมัย 

        ในสมัยพุทธกาล แคว้นโกศลเป็นแคว้นที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมากแคว้นกาสีในสมัยนั้นก็ขึ้นกับแคว้นโกศล มีหลักฐานมากแห่งทั้งทางฝ่ายพุทธและอื่น ๆแสดงว่าแคว้นสักกะแห่งกษัตริย์ศากยวงศ์ของพระพุทธองค์ ก็อยู่ภายใต้อำนาจหรือความคุ้มครองของแคว้นโกศล นครหลวงสาวัตถีของแคว้นโกศลเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับพระพุทธองค์ และการพระศาสนาในสมัยนั้น พระพุทธองค์ ประทับจำพรรษาที่สาวัตถีรวม ๒๕ พรรษาโดยเสด็จประทับที่พระเชตวันมหาวิหาร ๑๙ พรรษา และที่บุพพาราม ๖ พรรษา

         พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระนางมัลลิกาอัครมเหสี ทรงมีส่วนอย่างมากในการประกาศคำสอนของพระพุทธองค์ที่สาวัตถีนี้พระพุทธองค์ทรงได้บุคคลผู้เป็นกำลังสำคัญที่สุด ในฝ่ายอุบาสกและอุสาสิกาคืออนาถบิณฑิกะเศรษฐีมหาอุบาสก และนางวิสาขามหาอุบาสิกาท่านทั้งสองได้บริจาคทรัพย์จำนวนมหาศาลสร้างพระเชตวันมหาวิหารและบุพพารามโดยลำดับถวายแด่พระพุทธองค์เพื่อเป็นสังฆารามในพระพุทธศาสนาทั้งยังได้ถวายอุปถัมภ์แก่พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ในด้านอื่น ๆ อีกนานัปการปรากฏเป็นเกียรติเด่นอยู่ในประวัติของพระศาสนาตราบจนกระทั่งปัจจุบัน 

        พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้สร้างวัดถวายแด่พระพุทธองค์วัดหนึ่ง ชื่อวัดราชการามโดยพระพุทธองค์เสด็จจำพรรษา ณ สาวัตถี รวมถึง ๒๕ พรรษา จากจำนวนทั้งหมด๔๕ พรรษา ของระยะเวลาที่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้น ณ สาวัตถีขณะที่พระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ และเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธองค์ด้วยจึงมีอยู่เป็นอันมาก 

        ดังเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าปเสนทิโกศลเกี่ยวกับท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี และนางวิสาขาแล้ว มีเรื่องอื่น ๆซึ่งเป็นที่ทราบกันดีก็มีอีกเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น 

       เรื่องพระองคุลิมาลเรื่องปฏาจาราเถรี 

       เรื่องนางกาลียักขินีเรื่องนางจิญจมาณวิกา 

       เรื่องนางสีกาโคตมีเถรีเรื่องนางมัลลิกา 

       เรื่องการถวายอสทิสทานเรื่องพันธุละเสนาบดี และนางมัลลิกาภรรยา 

       เรื่องพระเจ้าวิฑูฑพภะ 

       เรื่องพระนางวาสภขัตติยา 

       เรื่องพระพุทธองค์ทรงปฏิบัติพระภิกษุไข้ 

       เรื่องพราหมณ์จูเฬกสาฏก 

       เรื่องพระพุทธองค์ทรงพยากรณ์พระสุบินนิมิต ๑๖ ประการ ของพระเจ้าปเสนทิโกศล 

       เรื่องทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ และ

       เรื่องพระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบพระสูตรต่าง ๆ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงขณะประทับอยู่ ณสาวัตถีมีมากมายสุดที่จะนับได้ เฉพาะบางสูตรซึ่งรู้จักกันดีหรือได้ยินชื่อบ่อย ๆมีอาทิเช่น                  มงคลสูตรธชัคคสูตร ทสธัมมสูตร สาณียธัมมสูตร อหิราชสูตร เมตตานิสังสสูตรคิริมานนทสูตรธัมมนิยามสูตร อปัณณกสูตร อนุตตริยสูตร พลสูตร มัคควิภังคสูตรโลกธัมมสูตรทสนาถกรณธัมมสูตร อัคคัปปสาทสูตร ปธานสูตร อินทรยสูตร อริยธนสูตรและสัปปุริสธัมมสูตร 

        ทั้งหมดทรงแสดง ณ พระเชตวันมหาวิหารทั้งสิ้น

        รัชสมัยของพระเจ้าปเสนทิโกศลอำนาจของแคว้นโกศลเริ่มลดถอยลงถึงรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชพระเชตวันมหาวิหารยังคงเป็นสำนักที่ใหญ่โตและรุ่งเรืองเมื่อหลวงจีนฟาเหียนมาสาวัตถี (ประมาณระหว่างปี พ.ศ. ๙๔๔ ถึง๙๕๓) ตัวเมืองอยู่ในสภาพที่ถูกทิ้งร้างแต่พระเชตวันยังคงเป็นสำนักสำคัญอยู่ 

แคว้นมัลละ (ดับขันธปรินิพพาน)

         แคว้นมัลละเป็นแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของพุทธศาสนิกในฐานะเป็นที่เสด็จปรินิพพานของพระพุทธองค์ พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานที่แคว้นนี้ที่สาลวัน - ป่าไม้รัง – อันเป็นพระราชอุทยานที่เสด็จประพาสของเหล่ากษัตริย์มัลละซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี เขตเมืองกุสินาราห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไม่ไกลนัก

        ในช่วงเวลา ๔๕ พรรษาของการบำเพ็ญพุทธกิจพระพุทธองค์เคยได้เสด็จมายังกุสินาราและปาวารวมหลายครั้งด้วยกันในวันเสด็จปรินิพพานพระพุทธองค์ทรงรับภัตตาหาร อันเป็นปัจฉิมบิณฑบาต หรือภัตตาหารมื้อสุดท้ายสำหรับพระองค์ที่บ้านของนายจุนทะกัมมารบุตร ณ เมืองปาวา จากนั้นจึงได้เสด็จต่อมายังกุสินาราอันเป็นปรินิพพานสถานปัจจุบัน กุสินารา 


อ้างอิง http://www.vichadham.com/buddha/city16.html

ขอบคุณภาพจาก www.google.com

แชร์