“สิทธิมนุษยชน” คืออะไร?.. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติ 30 ข้อมีอะไรบ้าง?

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือศักดิ์ศรีความเป็นคนเป็นสิ่งที่ทุกคนมีติดตัวมาแต่กำเนิด โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือแนวคิดอื่น ๆ เผ่าพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ถิ่นกำเนิด http://winne.ws/n5064

4.0 หมื่น ผู้เข้าชม
“สิทธิมนุษยชน” คืออะไร?.. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติ 30 ข้อมีอะไรบ้าง?ขอบคุณภาพจาก PTT Global Chemical

 นิยาม “ สิทธิมนุษยชน ” (Human Right)หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ   เสรีภาพ   และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง   หรือคุ้มครอง   ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย   หรือตามกฎหมายไทย   หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์   หรือศักดิ์ศรีความเป็นคนเป็นสิ่งที่ทุกคนมีติดตัวมาแต่กำเนิด     โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ   สีผิว   เพศ   ภาษา   ศาสนา   ความคิดเห็นทางการเมืองหรือแนวคิดอื่น ๆ   เผ่าพันธุ์   หรือสังคม   ทรัพย์สิน   ถิ่นกำเนิด   หรือสถานะอื่น ๆ   เช่น   คนเราทุกคนมีสิทธิได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายไม่ว่าที่ไหน   เมื่อไร   ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน   ข้อ   ๖ ที่มา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย   พุทธศักราช   ๒๕๔๐                     

3. ความเป็นมาและสาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติ

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติเป็นข้อตกลงของสหประชาชาติได้กำหนดขึ้น  เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ใช้เป็นแนวทางในการคุ้มครองดูแลสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองประเทศของตน

3.1 ความเป็นมา                

แนวคิดเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เนื่องจากเหตการณ์ดังกล่าวได้นำมาซึ่งคสามสูญเสียชิวิตและทรัพย์สินของประเทศคู่สงครามอย่างมหาศาล  โดยส่วนใหญ่เป็นปลมาจากความทารุณโหดร้ายของฝ่ายอักษะซึ่งนำโดยอดอร์ฟ ฮิตเลอ ผู้นำประเทศเยอรมันนี และเบนิโต มุสโสลินี ผู้นำประเทศอิตาลีจนทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกหวั่นเกรงเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นในอนาคต                

ดังนั้นได้มีการจัดตั้งองค์กรสหะประชาชาติขึ้น  จึงได้มีการผลักดันให้องค์การสหประชาชาติเร่งกำหนดแนวทางคุ้มครองสิทธิมนุษชนขึ้นมาคุ้มครองมนุษยชาติ                

“สิทธิมนุษยชน” คืออะไร?.. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติ 30 ข้อมีอะไรบ้าง?

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2491(ค.ศ.1948) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจึงได้มีมติยองรับและประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกตามมาด้วยกติการะหว่างประเทศอีก 2 ฉบับด้วยกัน ได้แก่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2519 (ค.ศ.1976) กติการะหฟว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2519 (ค.ศ1976)                

ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ.2536 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติจัดตั้งตำแหน่งข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติขึ้น  เพื่อดูแลและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนรวมทั้งตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุยชนในประเทศต่าง ๆ โดยผู้ดำรงตำแหน่งเป็นคนแรก คือ นายโฮเซ อยาสา ลาสโซ ซาวเอกวาดอร์

3.2 สาระสำคัญปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติ

มีวัตถุประสงค์และหลักการทั่วไปเกี่ยวกับมาตรการด้านสิทธิมนุษยชน  แต่ไม่มีพันธะผูกพันในแง่ของกฏหมายระหว่างประเทศประกอบด้วยการรับรองสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ จำนวน 30 ข้อ ซึ่งสามารถนำมาจัดกลุ่มได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 

1. สิทธิมนุษยชนเบื้องต้น (ข้อที่ 1-3) 

2. สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ข้อที่4-23) 

3. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวํฒนธรรม(ข้อที่ 24-27)

4. หน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนนต่อระบียบสังคม และการรับรองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานระหว่างประเทศ(ข้อที่28-30)

“สิทธิมนุษยชน” คืออะไร?.. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติ 30 ข้อมีอะไรบ้าง?

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติ

1. มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิต่าง ๆ

2. ทุกคคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลนี้โดยปราศจากการแก่งแย่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ๆ

3. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล

4. บุคคลจะตกอยู่ในความเป็นทาส หรือสภาวะจำยอมไม่ได้ ทั้งนี้ห้ามค้าทาสทุกรูปแบบ  

5. บุคคลจะถูกกระทำการทรมาน หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีไม่ได้

6. ทุคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับทุกแห่งหนว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย

7. ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ

8. มนุษย์ทุคคนมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอันมีประสิทธิผลจากศาลต่อการกระทำอันล่วงละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของตนตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

9. บุคคลจะถูกจับกุม กักขัง ตามอำเภอใจไม่ได้

10. มนุษย์ทุกกคนมีสิทธิในความเสมอภาคอย่างเต็มที่  จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมและเปิดเผยจากศาลที่อิสระไม่ลำเอียง

“สิทธิมนุษยชน” คืออะไร?.. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติ 30 ข้อมีอะไรบ้าง?

11. ทุกคคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญามีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎหมาย

12. บุคคลจะถูกแทรกแซงความเป็นส่วนตัว ครอบครัว ที่อยู่อาศัย การสื่อสาร หรือจะลบหลู่เกียรติยศและชื่อเสียงไม่ได้

13. ทุคนมีสิทธิอิสรภาพแห่งการเคลื่อนย้ายและการอยู่อาศัยภายในพรมแดนของต่ละรัฐ และมีสิทธิที่จะออกนอกประเทศตนเองหรือกลับสู่ประเทศของตนได้

14. ทุกคนมีสิทธิที่จะแสวงหาที่ลี้ภัยในประเทศอื่นจากการประหัตประหารได้ แต่สิทธินี้จะยกขึ้นกล่าวอ้างจากความผิดในประเด็นการเมือง  หรือจาการกระทำอันขัดต่อวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติไม่ได้

15. ทุคคนมีสิทธิในการถือสัญชาติและสามารถเปลี่ยนแปลงสัญชาติของตนเองได้

16. ครอบครัวเป็นหน่วยธรรมชาติทางพื้นฐานสังคม  เพราะฉะนั้นย่อมมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากสังคมและรัฐ  และชายหญิงที่มีอายุครบบริบูรณ์ตามกฎหมายแล้วทุกคน มีสิทธิที่จะสามารถและสร้างครอบครัวของตนเองได้

17. ทุคคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือทรัพย์สินที่อยู่ร่วมกับผู้อื่น

18. ทุคนมีสิทธิในการเปลี่ยนศาสนาหรือความเชื่อ  และมีอิสรภาพในการแสดงออกทางศาสนาหรือความเชื่อของตนในชุมชนหรือในพื้นที่สาธารณะ

19. ทุกกคนมีสิทธิในการแสดงควมคิดเห็น แสวงหาข้อมูลข่าวสาร และสามารถรับส่งข้อคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านสื่อใด ๆ ก็ได้โดยปราศจากการแทรกแซง

20. ทุคนมีสิทธิในการชุมนุมและการสมาคมโดยสันติ

“สิทธิมนุษยชน” คืออะไร?.. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติ 30 ข้อมีอะไรบ้าง?

21. ทุคคนมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศของตน ทั้งโดยทางตรงหรือทางผู้แทนซึ่งมาจากการเลือกตั้งรวมทั้งทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการสาธารณะในประเทศของตนโดยเสมอภาค

22. สมาชิกทุกกคนของสังคมมีสิทธิในการเข้าถึงหลักประกันทางด้านเศรฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

23. ทุกคนมีสิทธิในการทำงาน สามารถเลือกงานได้โดนอิสระและมีการคุ้มครองเมื่อเกิดการว่างงงานรวมทั้งทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกัน  สำหรับงานที่เท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ทุกคนมีสิทธิที่จะจัดตั้งหรือเข้าร่วมสหภาพแรงงาน

24. ทุคนมีสิทธิในการพักผ่อนและผ่อนคลายยามว่างโดยพักผ่อนและผ่อนคลายยามว่าง โดยพักผ่อนดังกล่าวจะต้องได้รับค่าจ้าง

25. ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพ เช่นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการทางสังคมที่จำเป็นเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตนเองและครอบครัว

26. ทุกคนมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

27. ทุกคนมีสิทธิที่เข้าร่วมในวัฒนธรรมของชุมชนอย่างอิสระ และทุกคนมีสิทธิได้รับการคุ้มครองผลประโยชน์อันเกิดจากการประดิษฐกรรมทางวิทยาศาสตร์ วรรรกรรมและศิลปกรรมซึ่งตนเป็นผู้สร้างขึ้น

28. ทุกคนมีสิทธิการจัดระเบียบทางสังคมระหว่างประเทศ

29. การใช้สิทธิและอิสรภาพของทุกคนต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัด เพียงเท่าที่มีกำหนดไว้ตามกฏหมายเท่านั้นตลอดจนสิทธิและอิสรภาพเหล่านี้จะไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติไม่ว่ากรณีใด ๆ

30. ไม่มีบทใดในปฏิญญานี้ที่อาจตีความได้ว่าเป็นการให้สิทธิใดแก่รัฐ กลุ่มคน หรือบุคคลใดในการดำเนินกิจกรรมใด ในการดำเนินกิจกรรมใด หรือกระทำการอันมุ่งต่อการทำลายสิทธิและอิสรภาพที่กำหนดไว่ ณ ที่นี้                                 

“สิทธิมนุษยชน” คืออะไร?.. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติ 30 ข้อมีอะไรบ้าง?

กล่าวได้ว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ช่วยในการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรกของโลก และปัจจุบันประชาคมโลกต่างยอมรับให้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติอยู่ในฐานะแม่บทของกฎหมายสิทธิมนุษยชนทั้งมวล                           

นอกจากนี้ กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนในปัจจุบันก็ล้วนมีพื้นฐานและได้รับการพัฒนามาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติฉบับนี้ทั้งสิ้น และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนเหล่านั้นก็ได้ เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนากฎหมายภายในของประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลก เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศของตน รวมทั้งประเทศไทยด้วย                  

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีพันธกรณีกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จำนวน 6 ฉบับได้แก่อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลมือง อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ  และอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการทารุณกรรม ตลอดจนการปฏิบัติหรือการลงโทษที่ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์

ที่มา https://sites.google.com/site/30313panisa/3-khwam-pen-ma-laea-sara-sakhay-khxng-ptiyya-sakl-wa-dwy-si-ththi-mnu-s-chn-haeng-shprachachati

ที่มา http://guru.sanook.com/20849/

ขอบคุณภาพจาก www.google.com

แชร์