ญี่ปุ่นทำให้ประเทศสะอาด และขยะกลายเป็นเงินเป็นทองได้อย่างไร? (ตอนที่2)

1. ขยะเปียกประเภทอาหารนำไปเผาได้ก๊าซและความร้อนส่งขายโรงงานไฟฟ้าได้ 2. เถ้าที่เกิดจากการเผานำไปผลิตทรายสังเคราะห์ขาย 3. จุดฝังกลบขยะไปทำเป็นสวนสาธารณะปลูกซากุระ และทำโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ http://winne.ws/n5543

1.9 พัน ผู้เข้าชม
ญี่ปุ่นทำให้ประเทศสะอาด และขยะกลายเป็นเงินเป็นทองได้อย่างไร? (ตอนที่2)

ขยะเปียกประเภทอาหาร ทางโรงงานไบโออิเนอร์จี (BIOENERGY)ในเขตโอตะของกรุงโตเกียว สามารถนำไปสร้างมูลค่าได้ โดย

1. นำไปเผา ได้ก๊าซและความร้อนไปผลิตกระแสไฟฟ้าและใช้ประโยชน์ในครัวเรือน

2.  เถ้าที่ได้จากการเผาไหม้ขยะ แบ่งเป็นสองส่วนคือ

2.1) นำไปกำจัดทิ้ง

2.1) ในบางกรณี นำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิต“ทรายสังเคราะห์”  

 โรงงานที่ผลิตทรายสังเคราะห์ เป็นของบริษัทซึเนอิชิ คัมเทคส์ ไซตามะ จำกัด (Tsuneishi Kamtecs Saitama Co., Ltd.)

1.  นำเถ้าขยะจากโรงเผาขยะของภาครัฐมาเข้าสู่กระบวนการ(Ash Recycle System) เพื่อผลิตเป็นทรายสังเคราะห์ที่เรียกว่า AshSand

2. มีกำลังการผลิตที่ 228 ตันต่อวัน

3. โรงงานนี้ลงทุนประมาณ 600-700 ล้านบาทช่วยรัฐกำจัดขยะได้วันละประมาณ 300 ตัน/วัน

ญี่ปุ่นทำให้ประเทศสะอาด และขยะกลายเป็นเงินเป็นทองได้อย่างไร? (ตอนที่2)

คุณสมบัติของทรายสังเคราะห์( Ash Sand)  ที่ได้

1.      ไม่ทำลายดิน

2.      สามารถดูดซึมน้ำได้มาก(เนื่องจากในกระบวนการเผาขี้เถ้า มวลที่เป็นน้ำได้ถูกกำจัดออกไปแล้ว) จึงใช้โรยดินเช่นในสนามเพื่อกำจัดหญ้าและวัชพืชได้ โดยจะดูดซับแย่งน้ำจากวัชพืชแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อต้นไม้ใหญ่ที่มีรากหยั่งลึกกว่า

3.      ใช้ก่อสร้างถนนโดยนำไปถมชั้นล่างสุดก่อนราดด้วยยางมะตอย

4.      ใช้ทำอิฐบล็อก

5.      ราคาถูกกว่าทรายธรรมชาติ

 ลูกค้าทรายสังเคราะห์ คือบริษัทก่อสร้างถนนและหน่วยงานภาครัฐที่เมื่อมีงานตัดถนนก็มักจะใช้ทรายสังเคราะห์ของบริษัทเป็นทางเลือกอันดับต้นๆเนื่องจากมีราคาถูก ปัจจุบันมีโรงงานรีไซเคิลขี้เถ้าขยะในลักษณะนี้ประมาณ 100แห่งในประเทศญี่ปุ่น

SAITAMA Prefecture สถานที่ท่องเที่ยวในไซตามะ

ญี่ปุ่นทำให้ประเทศสะอาด และขยะกลายเป็นเงินเป็นทองได้อย่างไร? (ตอนที่2)

ศูนย์บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมประจำจังหวัดไซตามะ

เป็นทั้งเมืองท่องเที่ยวอุตสาหกรรม และศูนย์กลางธุรกิจ อยู่ห่างจากกรุงโตเกียวประมาณ30 นาที (ทางรถยนต์)

ญี่ปุ่นทำให้ประเทศสะอาด และขยะกลายเป็นเงินเป็นทองได้อย่างไร? (ตอนที่2)

ศูนย์นี้มีโรงงานรีไซเคิลขยะ (SAI-no-KUNIResource Recycling Factory) และจุดฝังกลบขยะที่ใช้งานอยู่ส่วนจุดฝังกลบขยะที่ปิดการใช้งานไปแล้วก็ทำเป็นสวนสาธารณะโดยปลูกต้นซากุระไว้ถึง941 ต้น ส่วนอีกจุดหนึ่งทำเป็นโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงชุมชนใกล้เคียง

 แน่นอนว่าช่วงเริ่มโครงการราวปีพ.ศ.2518 มีการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่เพราะเกรงจะได้รับผลกระทบจากบ่อขยะและพื้นที่ฝังกลบ ซึ่งทางศูนย์แก้ปัญหาโดย 

1.      เปิดเวทีทำความเข้าใจ-ให้ข้อมูล

2.      ปี 2532  ได้ลงนามทำข้อตกลงระหว่างบริษัท ตัวแทนเขตและประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับรูปแบบและมาตรฐานความปลอดภัยของโครงการ

3.      ทุกวันนี้ ประชาชนยังสามารถเข้ามาตรวจสอบการดำเนินงานได้ตลอดเช่น การระบายน้ำออกจากหลุมขยะต้องมีการบำบัดมีการตรวจค่ากรด-ด่างในน้ำก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำขยะที่จะลงสู่หลุมฝังกลบจะมาในรูปขี้เถ้าขยะ

ญี่ปุ่นทำให้ประเทศสะอาด และขยะกลายเป็นเงินเป็นทองได้อย่างไร? (ตอนที่2)

ส่วนโซลาร์ฟาร์มนั้น ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2.78ล้านหน่วย (kWh) / ปี ซึ่งเพียงพอสำหรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของ 770ครัวเรือน และยังสามารถขายให้กับบริษัทผู้ให้บริการไฟฟ้าในกรุงโตเกียว 2.6เมกะวัตต์ รายได้ส่วนหนึ่ง(ประมาณ 4 ล้านเยน) จากการขายกระแสไฟฟ้ายังมีการบริจาคให้ชุมชนเพื่อนำไปใช้เป็นสาธารณประโยชน์อีกด้วย


อ่านญี่ปุ่นทำให้ประเทศสะอาด และขยะกลายเป็นเงินเป็นทองได้อย่างไร? (ตอนที่1) ได้ที่ :  http://www.winnews.tv/news/5518


ขอขอบคุณแหล่งข่าว: http://www.thansettakij.com/2016/07/17/70809

ขอขอบคุณภาพจาก: http://www.google.com

แชร์