ชีวิตดี สร้างได้ ‘วนิษา เรซ’

ช่วงอายุ 0 – 3 ปี เป็นช่วงสำคัญที่สุดของการพัฒนาสมอง มีงานวิจัยรางวัลโนเบลในเชิงเศรษฐศาสตร์บอกว่า การลงทุนในเด็กวัยนี้ ให้ผลคุ้มค่าที่สุดในเชิงเม็ดเงิน โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 7 เท่า ขณะที่ถ้าลงทุนกับเด็กวัยมหาวิทยาลัย ผลตอบแทนจะต่ำมาก http://winne.ws/n8840

2.2 พัน ผู้เข้าชม

หนูดีเรียนจบมาด้านไหน

หนูดี :    หนูดีเรียนมาด้านการศึกษาค่ะ ปริญญาตรีเรียนสายครอบครัวศึกษา พวก family study ตอนปริญญาโท ก็ย้ายไปเรียนด้านสมองและการศึกษา (วิทยาการสมอง) เป็นหลักสูตรที่ศึกษาว่าสมองทำงานยังไง เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ยังไง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคน ซึ่งเป็นคนละอย่างกับการเรียนผ่าตัดสมองนะคะ นั่นคือการเรียนลักษณะทางกายภาพ กายวิภาคของสมอง หนูดีจะเน้นการนำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้มากกว่าค่ะ ตอนนี้ก็ทำโรงเรียนวนิษา สุขุมวิท, วนิษา รังสิต ทำสำนักพิมพ์อัจฉริยะสร้างได้ จะเน้นการนำความรู้มาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ค่ะ

ทำไมถึงสนใจเรื่องการพัฒนาสมอง

หนูดี :    น่าจะเป็นความต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยที่หนูดีเรียนสายการศึกษา ตอนนั้นหนูดีชอบนักทฤษฎีที่ชื่อ ดร.โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) มากเป็นพิเศษ พอเขาไปเปิดหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หนูดีก็สนใจอยากไปเรียน ก็เลยไปสมัคร ตั้งใจไว้ว่าถ้ามีโอกาสจะไปเรียน แต่กระบวนการสมัครของที่โน่นค่อนข้างเยอะค่ะ ต้องส่งจดหมายแนะนำตัว ต้องมีหนังสือรับรอง ต้องส่งใบเกรด ต้องไปสอบวัดมาตรฐานอะไรต่าง ๆ ใช้เวลาประมาณ 6 – 7 เดือน

ชีวิตดี สร้างได้ ‘วนิษา เรซ’

ทราบว่าจุดเปลี่ยนของชีวิตหนูดีคือเหตุการณ์สึนามิ

หนูดี :    ระหว่างรอสมัครที่ฮาร์วาร์ด กำลังจะส่งเอกสารชิ้นสุดท้ายคือจดหมายแนะนำตัว ตอนนั้นหนูดีไปพักผ่อนที่เขาหลัก พังงา ไปเจอเหตุการณ์สึนามิพอดี เลยทำให้เห็นว่า ในสถานการณ์คับขัน คนที่ฉลาดมาก ๆ จะช่วยให้ตัวเองรอดได้ เพราะจริง ๆ แล้วเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ มันสามารถให้ความรู้และวางแผนเพื่อช่วยชีวิตตัวเองได้ 

แต่บ้านเรามักจะไม่ค่อยพูดถึง พอไม่พูดถึงก็ไม่ได้ป้องกัน เมื่อเกิดเหตุขึ้นจริง ๆ จึงมีคนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก หนูดีมองว่าเราควรมีการป้องกันเรื่องแย่ ๆ ในเชิงรุกมากกว่านี้ พอเจอเหตุการณ์นี้ก็เลยเกิดความคิด จึงเปลี่ยนจดหมายแนะนำตัวไปว่า หนูดีอยากไปเรียนที่โน่นเพื่อนำความรู้กลับมาปรับใช้และแนะนำให้คนฉลาดขึ้น (ยิ้ม) โดยเฉพาะในกรณีคับขัน เขาจะได้ช่วยเหลือตัวเองได้ จำได้ว่า ใช้เวลาขียนจดหมายแนะนำตัวมา 6 เดือน พอเจอสึนามิ หนูดีแก้ไขจดหมาย 2 วัน แล้วส่งเลย (หัวเราะ) และในที่สุดทางฮาร์วาร์ดก็พิจารณาคัดเลือกให้หนูดีได้เข้าไปเรียนค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างกับการเรียนในมหาวิทยาลัยชื่อดังระดับโลกอย่างฮาร์วาร์ด

หนูดี :    จริง ๆ หนูดีเป็นลูกครึ่ง แล้วก็เคยเรียนที่สหรัฐอเมริกามาตั้งแต่เด็ก ปริญญาตรีก็เรียนที่นั่น จะบอกว่าตื่นเต้นตกใจคงไม่ใช่ (ยิ้ม) แต่มันก็แตกต่างนะคะ สมัยเรียนปริญญาตรีจะสบาย ๆ นิดหนึ่ง มีเวลาไปเที่ยว ไปทำงานพิเศษเยอะหน่อย แต่พอเรียนปริญญาโท กลัวเหมือนกันว่าจะเรียนไม่จบ โชคดีที่หนูดีเรียนเรื่องหลักการอ่านเร็ว เรียนเรื่อง Mind Map มาก่อน ฮาร์วาร์ดเรียนหนักค่ะ แต่เป็นการหนักที่ความยากของเนื้อหา ไม่ได้หนักที่การท่องจำ เป็นลักษณะการทำความเข้าใจเนื้อหาที่ยากขึ้นมาอีกสเต็ปหนึ่ง ไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรงค่ะ คนไทยคนอื่น ๆ ก็ทำได้ เด็กไทยหลาย ๆ คนเก่งกว่าหนูดีอีก โดยเฉพาะทางกฎหมาย มีคนไทยจบจากที่นั่นเยอะมาก

ชีวิตดี สร้างได้ ‘วนิษา เรซ’

ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง เด็กอายุเท่าไหร่จึงเหมาะแก่การพัฒนาสมองมากที่สุด

หนูดี :    หนูดีเป็นทูตขององค์การยูนิเซฟ เขาจะมีแคมเปญทั่วโลกว่า ช่วงอายุ 0 – 3 ปี เป็นช่วงสำคัญที่สุดของการพัฒนาสมอง มีงานวิจัยรางวัลโนเบลในเชิงเศรษฐศาสตร์บอกว่า การลงทุนในเด็กวัยนี้ ให้ผลคุ้มค่าที่สุดในเชิงเม็ดเงิน โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 7 เท่า ขณะที่ถ้าลงทุนกับเด็กวัยมหาวิทยาลัย ผลตอบแทนจะต่ำมาก การลงทุนกับเด็กเล็กอายุประมาณนี้ จึงคุ้มค่าแก่การลงทุนทุกอย่าง แต่คุณพ่อคุณแม่คนไทยส่วนใหญ่จะเข้าใจผิดว่า ส่งลูกเรียนระดับอนุบาลที่ไหนก็ได้ แล้วค่อยไปเรียนในมหาวิทยาลัยแพง ๆ รู้ไหมคะว่า เด็กวัยนั้น เขาไม่สนใจเรียนหนังสือแล้ว เพราะมีสิ่งจูงใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเบื่อ ฮอร์โมน เพศตรงข้าม เกม ฯลฯ หนูดีจึงมองว่าการลงทุนกับเด็กตั้งแต่เล็กเป็นสิ่งสำคัญ เพราะพอเด็กมีความฉลาดและรู้จักคิด เราจะส่งเข้าไปเรียนที่ไหนก็ได้ เขาสามารถพัฒนาตัวเองได้

วิธีสอนเด็กให้พัฒนาสมองอย่างถูกต้องมีอะไรบ้าง

หนูดี :    พ่อแม่ควรเข้าใจลูกว่า เด็กวัยนี้ชอบเรียนรู้ด้วยการฝึกทำหรือหัดเล่นด้วยตัวเอง การฟังเสียงก็สำคัญ ที่โรงเรียนของหนูดี (วนิษา สุขุมวิท) มีเรียนทั้งหมด 4 ภาษา คือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน หนูดีทำห้องของแต่ละภาษาโดยเฉพาะ เด็ก ๆ จะได้เล่น ได้พูดคุยกับคุณครูด้วยความสนุกสนาน เขาจะได้เรียนภาษา 4 ภาษาครบเมื่ออายุ 6 ขวบ การที่ให้เขาได้เรียนรู้แบบสนุก ๆ จะทำให้เขาไม่เบื่อและไม่กลัวการเรียนหนังสือด้วยค่ะ


อ่านเพิ่มเติมที่http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/

แชร์