กว่าจะมาเป็น “พระคทาจอมทัพภูมิพล” จากในหลวง ร.6 สู่ในหลวง ร.9

“พระคทาจอมทัพภูมิพล” เครื่องหมายแสดงถึงความเป็น “จอมทัพไทย” เป็นเครื่องประดับเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช http://winne.ws/n9365

2.2 พัน ผู้เข้าชม
กว่าจะมาเป็น “พระคทาจอมทัพภูมิพล” จากในหลวง ร.6 สู่ในหลวง ร.9

ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชดำรัสหน้าที่ของทหารต่อประชาชนในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินออกทรงรับพระคทาจอมทัพภูมิพล

“คทา” เป็นเครื่องหมายแสดงตำแหน่ง หรือเป็นเครื่องประดับเกียรติยศ ที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังปรากฏวิวัฒนาการของรูปแบบคทาอยู่ตามภาพสักและอนุสาวรีย์ต่าง ๆ โดยในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เรียกว่า “พระแสงขรรค์ชัยศรี” แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในฐานะเทวราชา

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการพัฒนาประเทศในทุกสาขา และได้นำการเรียนทหารตามแบบตะวันตกมาใช้ในสยาม ทำให้มีระเบียบแผนเดียวกัน โดยบัญญัติคำว่า “จอมพล” เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีคำว่า “จอมทัพไทย” โดยในระยะแรกยังไม่มีเครื่องหมายแสดงถึงความเป็น “ที่จอมพล” ของพระมหากษัตริย์ จนต่อมา นายพลโท พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช (ยศในขณะนั้น) ในนามของข้าราชการทหารได้ประดิษฐ์ “คทาองค์แรก” ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องประดับเกียรติยศทางการทหารและได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เป็นคทาประจำรัชกาลที่ทรงใช้ตลอดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

กว่าจะมาเป็น “พระคทาจอมทัพภูมิพล” จากในหลวง ร.6 สู่ในหลวง ร.9

คทาองค์ 2 นั้นข้าราชการกรมยุทนาธิการ นำโดยนายพลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทนาธิการ ได้จัดสร้างขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์ได้ทรงใช้พระคทาองค์นี้ในช่วงต้นของรัชกาลเท่านั้น โดยได้ทรงพระราชทานแบบพระคทาองค์ที่ 3  มาใหม่ และทรงใช้มาตลอดรัชกาล นอกจากนี้ พระคทาองค์ที่ 3 นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้พระคทาองค์นี้อีกด้วย

จนกระทั่ง สภากลาโหมในรัชสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ถวายพระคทาองค์ที่ 4  เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2509 เมื่อทรงมีพระชนมายุเข้าปีที่ 40 และขอพระบรมราชานุญาตขนานนามคทาพระองค์ที่ 4 นี้ว่า “พระคทาจอมทัพภูมิพล”

กว่าจะมาเป็น “พระคทาจอมทัพภูมิพล” จากในหลวง ร.6 สู่ในหลวง ร.9

ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสตอบในการเสด็จพระราชดำเนินออกทรงรับพระคทาจอมทัพภูมิพลว่า

“ข้าพเจ้าขอขอบใจรัฐมนตรีว่ารกระทรวงกลาโหม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ทุกคนที่นำคทาจอมทัพมอบให้ข้าพเจ้าในครั้งนี้ ข้าพเจ้ายินดีรับไว้ด้วยความเต็มใจ และจะถือว่าคทาจอมทัพเสมือนเครื่องหมายแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกองทัพทั้งสาม”

“อิสรภาพ ความมั่นคง ตลอดความเจริญรุ่งเรืองของประเทศเรา ขึ้นอยู่กับกิจการทหารเป็นสำคัญ ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย เพราะเมืองไทยของเราเป็นเมืองทหาร คนไทยทุกคนมีเลือดทหาร เป็นนักสู้ผู้รักและหวงแหนความเป็นไทยยิ่งชีพด้วยชีวิต ข้าพเจ้าจึงมีความพึงพอใจอย่างยิ่งที่ได้เห็นความกลมเกลียวเป็นปึกแผ่นของทหารทั้งสามเหล่าในวันนี้  ทหารมีหน้าที่ปกป้องประเทศที่นี้ นอกจากการรบแล้ว ยังมีด้านอื่นซึ่งสำคัญเท่าเทียมกันอยู่อีก คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชน ทหารต้องทำตัวเป็นมิตร ต้องสงเคราะห์อนุเคราะห์ประชาชนด้วยการคุ้มครองป้องกัน และช่วยเหลือในความเป็นอยู่ ตลอดถึงการแนะนำสนับสนุนในการครองชีพด้วย ถ้าทหารปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างครบถ้วน ก็จะเป็นที่อุ่นใจ และเป็นที่เชื่อถือไว้ใจของประชาชนได้อย่างแท้จริง”

ที่มา : http://www.bangkokbanksme.com/article/8700

แชร์