ทำไม ? ครู..วันครูต้องมีสัญลักษณ์ เป็น "ดอกกล้วยไม้" ?

วันครูของประเทศไทย ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา http://winne.ws/n12328

5.0 พัน ผู้เข้าชม
ทำไม ? ครู..วันครูต้องมีสัญลักษณ์ เป็น "ดอกกล้วยไม้"  ?

การศึกษา เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งต่อชีวิตมนุษย์ เป็นการปลูกฝังความดีงามและความรอบรู้ รวมถึงการกำหนดอนาคตและทิศทางของชีวิต ในการที่จะให้มนุษย์ สามารถดำเนินชีวิตด้วยความมีศักยภาพความสามารถ ประกอบกิจการอาชีพหรือวิชาชีพเลี้ยงตัวเองด้วยสัมมาอาชีวะ ดังนั้น ผู้ที่คอยประคับประคองด้านการศึกษา อย่าง “ครู” นั้น จึงถือเป็นบุคคลที่สำคัญสูงยิ่งคนหนึ่ง เช่นนี้แล้ว หลายประเทศ ได้มีการเชิดชูครู มีการกำหนดวันรำลึกถึงความสำคัญ พระคุณ และภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของผู้ที่ประกอบอาชีพ “สร้างคน” อย่างครูด้วย

วันครูโลก ตรงกันวันที่ 5 ตุลาคมของทุกปี ในขณะที่ประเทศไทย ได้กำหนดวันครู ให้ตรงกับวันที่ 16 มกราคม ของทุกปี สืบเนื่องจาก เมื่อปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ในขณะนั้น ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

 “ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”

ทำไม ? ครู..วันครูต้องมีสัญลักษณ์ เป็น "ดอกกล้วยไม้"  ?

วันครูของประเทศไทย ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู โดยการจัดงานในครั้งนั้นนั้น กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้ กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

 

สำหรับประเทศไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม สั่งสอนให้มีความนับถือ ความเคารพบูชาผู้ที่มีพระคุณ มีการโยงใยสายสัมพันธ์กันอย่างแน่แฟ้นในสังคม ครอบครัว พ่อแม่ปู่ย่าตายายและญาติผู้ใหญ่เป็นสิ่งควรเคารพกราบไหว้เพื่อเกิดมงคลชีวิตและได้อานิสงส์แห่งความกตัญญู และเช่นกัน ต่อครูอาจารย์ ในสังคมไทยก็ยกย่องบูชาผู้ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชา ว่ามีบุญคุณไม่ต่างจากพ่อแม่ หากพ่อแม่เป็นผู้ที่มีพระคุณทำให้เราเกิดมา ครูก็ไม่ต่างอะไรกับผู้ที่สร้างให้มีวิชาติดตัวเป็นอาวุธชีวิต เพื่อให้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบอาชีพ ไปดำรงตนเป็นคนดีมีศีลธรรมได้ 

 

ดังนั้น ทำให้สังคมไทย มีสัญลักษณ์หนึ่งที่ใช้แทนพระคุณของครู นั่นก็คือคำว่า “พระคุณที่สาม” ในที่นี้หมายถึงพระคุณที่ยิ่งใหญ่ที่ครูมีต่อศิษย์ รองจากพระคุณที่หนึ่งและสอง คือพ่อแม่เลยทีเดียว

ทำไม ? ครู..วันครูต้องมีสัญลักษณ์ เป็น "ดอกกล้วยไม้"  ?

ในขณะที่ดอกไม้ประจำวันครู อย่าง “ดอกกล้วยไม้” มีคติที่มาอย่างคมคายลึกซึ้งอย่างยิ่ง  ศ.ม.ล.ปิ่น มาลากุล บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยวิชาการศึกษาและผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน บุคคลผู้มีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อการศึกษาไทย ท่านเขียนโคลงที่แหลมคมถึงการศึกษาเอาไว้บทหนึ่ง ว่า…

 

” กล้วยไม้มีดอกช้า                                ฉันใด

การศึกษาเป็นไป                                   เช่นนั้น

แต่ออกดอกคราวใด                              งานเด่น 

งานสั่งสอนปลูกปั้น                              เสร็จแล้วแสนงาม “

 

 

ดอกกล้วยไม้เป็นดอกไม้ที่ใช้เวลานานในการผลิดอกออกช่อ ต้องการการเอาใส่ใจจากผู้ปลูก เสมือนครูที่ต้องเพาะปลูกความรู้ความดีงามแก่ศิษย์ ไม่ใช่งานง่ายและงานสบาย เป็นงานที่ต้องเปี่ยมไปด้วยความรับผิดชอบเอาใจใส่ ใช้เวลา ใช้ความอดทนและความเมตตาสูงยิ่ง กว่าศิษย์ซึ่งเปรียบเสมือนดอกกล้วยไม้ จะประสบความสำเร็จงดงาม ผลิดอกออกช่อสวย เป็นที่ชื่นตาชื่นใจของครอบครัว ของสังคม และของประเทศชาติ  คณะกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ.2539 จึง พิจารณาเห็นว่าคุณลักษณะของดอกกล้วยไม้ มีลักษณะเชิงสัญลักษณ์คล้ายอาชีพครู จึงประกาศให้เป็นดอกไม้ประจำวันครูนั่นเอง


ขอบคุณข้อมูลจากhttp://news.truelife.com/detail/28045

ทำไม ? ครู..วันครูต้องมีสัญลักษณ์ เป็น "ดอกกล้วยไม้"  ?
แชร์