ทำไม? ดอกกล้วยไม้ จึงเป็นสัญลักษณ์ให้ รำลึก..พระคุณ "ครู"

ทำไม? ดอกกล้วยไม้ จึงเป็นสัญลักษณ์ให้ รำลึก..พระคุณ "ครู" http://winne.ws/n4627

4.9 พัน ผู้เข้าชม
ทำไม? ดอกกล้วยไม้ จึงเป็นสัญลักษณ์ให้ รำลึก..พระคุณ "ครู"

การศึกษา เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งต่อชีวิตมนุษย์ เป็นการปลูกฝังความดีงามและความรอบรู้ รวมถึงการกำหนดอนาคตและทิศทางของชีวิต ในการที่จะให้มนุษย์ สามารถดำเนินชีวิตด้วยความมีศักยภาพความสามารถ ประกอบกิจการอาชีพหรือวิชาชีพเลี้ยงตัวเองด้วยสัมมาอาชีวะ ดังนั้น ผู้ที่คอยประคับประคองด้านการศึกษา อย่าง "ครู" นั้น จึงถือเป็นบุคคลที่สำคัญสูงยิ่งคนหนึ่ง เช่นนี้แล้ว หลายประเทศ ได้มีการเชิดชูครู มีการกำหนดวันรำลึกถึงความสำคัญ พระคุณ และภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของผู้ที่ประกอบอาชีพ "สร้างคน" อย่างครูด้วย

วันครูโลก ตรงกันวันที่ 5 ตุลาคมของทุกปี ในขณะที่ประเทศไทย ได้กำหนดวันครู ให้ตรงกับวันที่ 16 มกราคม ของทุกปี สืบเนื่องจาก เมื่อปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี

สำหรับประเทศไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม สั่งสอนให้มีความนับถือ ความเคารพบูชาผู้ที่มีพระคุณ มีการโยงใยสายสัมพันธ์กันอย่างแน่แฟ้นในสังคม ครอบครัว พ่อแม่ปู่ย่าตายายและญาติผู้ใหญ่เป็นสิ่งควรเคารพกราบไหว้เพื่อเกิดมงคลชีวิตและได้อานิสงส์แห่งความกตัญญู และเช่นกัน ต่อครูอาจารย์ ในสังคมไทยก็ยกย่องบูชาผู้ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชา ว่ามีบุญคุณไม่ต่างจากพ่อแม่ หากพ่อแม่เป็นผู้ที่มีพระคุณทำให้เราเกิดมา ครูก็ไม่ต่างอะไรกับผู้ที่สร้างให้มีวิชาติดตัวเป็นอาวุธชีวิต เพื่อให้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบอาชีพ ไปดำรงตนเป็นคนดีมีศีลธรรมได้ 

 ดังนั้น ทำให้สังคมไทย มีสัญลักษณ์หนึ่งที่ใช้แทนพระคุณของครู นั่นก็คือคำว่า "พระคุณที่สาม" ในที่นี้หมายถึงพระคุณที่ยิ่งใหญ่ที่ครูมีต่อศิษย์ รองจากพระคุณที่หนึ่งและสอง คือพ่อแม่เลยทีเดียว

ทำไม? ดอกกล้วยไม้ จึงเป็นสัญลักษณ์ให้ รำลึก..พระคุณ "ครู"

ในขณะที่ดอกไม้ประจำวันครู อย่าง "ดอกกล้วยไม้" มีคติที่มาอย่างคมคายลึกซึ้งอย่างยิ่ง  ศ.ม.ล.ปิ่น มาลากุล บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยวิชาการศึกษาและผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน 

บุคคลผู้มีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อการศึกษาไทย ท่านเขียนโคลงที่แหลมคมถึงการศึกษาเอาไว้บทหนึ่ง ว่า...

 " กล้วยไม้มีดอกช้า                                ฉันใด

การศึกษาเป็นไป                                   เช่นนั้น

แต่ออกดอกคราวใด                              งานเด่น 

งานสั่งสอนปลูกปั้น                              เสร็จแล้วแสนงาม "

ดอกกล้วยไม้เป็นดอกไม้ที่ใช้เวลานานในการผลิดอกออกช่อ ต้องการการเอาใส่ใจจากผู้ปลูก เสมือนครูที่ต้องเพาะปลูกความรู้ความดีงามแก่ศิษย์ ไม่ใช่งานง่ายและงานสบาย เป็นงานที่ต้องเปี่ยมไปด้วยความรับผิดชอบเอาใจใส่ ใช้เวลา ใช้ความอดทนและความเมตตาสูงยิ่ง กว่าศิษย์ซึ่งเปรียบเสมือนดอกกล้วยไม้ จะประสบความสำเร็จงดงาม ผลิดอกออกช่อสวย เป็นที่ชื่นตาชื่นใจของครอบครัว ของสังคม และของประเทศชาติ  คณะกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ.2539 จึง พิจารณาเห็นว่าคุณลักษณะของดอกกล้วยไม้ มีลักษณะเชิงสัญลักษณ์คล้ายอาชีพครู จึงประกาศให้เป็นดอกไม้ประจำวันครูนั่นเอง

ปิดท้ายกับอีกสัญลักษณ์หนึ่งที่นิยมใช้เรียกครู นั่นก็คือ "เรือจ้าง" เนื่องจากมีการเปรียบเปรยว่า งานครู เป็นงานที่ทำซ้ำๆ ในภาพรวมคล้ายผู้รับจ้างแจวเรือข้ามฟาก จากฝั่งหนึ่ง ข้ามไปส่งยังอีกฝั่งหนึ่ง เปรียบเสมือนการที่ครูรับเด็กจากมือพ่อแม่ ยังไม่รู้วิชา มาเพาะบ่ม ปลูกฝัง สั่งสอน อบรม ให้ทั้งวิชาการและปลูกฝังสำนึกจริยธรรม อุ้มชูพาผ่านห้วงน้ำแห่งอวิชชา ความไม่รู้ สิ่งยั่วยวน ความไม่ดีทั้งหลาย แล้วนำมาส่งอีกฝั่งน้ำ ในสภาพของคนเต็มคน ที่ได้รับการสั่งสอนให้มีวิชาความรู้ อบรมให้มีจริยธรรมเป็นคนดี แข็งแรงและมีสติปัญญาพอที่จะพาชีวิตตนเองไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองต่อไปนั่นเอง

เรือจ้างนี้คือนาวานำพาศิษย์สู่สวรรค์ด้วยหรือเปล่า ? ขึ้นอยู่กับศิษย์จะนำความรู้ไปใช้ในทางดีหรือชั่ว นั่นเอง

อ้างอิง http://news.truelife.com/detail/28045

ขอบคุณภาพจากwww.google.com

แชร์