สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.)พร้อมรับมือภัยพิบัติ

ช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกต้องประสบกับภัยพิบัติมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ดินโคลนถล่มหรือแผ่นดินไหว และกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในแถบเอเชียแปซิฟิกจะมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เรื่องนี้จึงถือเป็นความท้าทายสำหรับประเทศไทยด้วย http://winne.ws/v9840

1.7 พัน ผู้เข้าชม

มาตราฐานการรับมืออุบัติภัยของไทย

          ช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกต้องประสบกับภัยพิบัติมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ดินโคลนถล่มหรือแผ่นดินไหว และกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในแถบเอเชียซิฟิกจะมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เรื่องนี้จึงถือเป็นความท้าทายสำหรับประเทศไทยด้วย 

           ในงานประชุมวิชาการเวชศาสตร์ภัยพิบัติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ มีตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเข้าร่วม ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับความเสี่ยงดังกล่าว เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกันสำหรับประเทศไทยนั้นที่ผ่านมา มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติรวมถึงภัยที่เกิดจากฝีมือของมนุษย อีกทั้งยังมีขีดความสามารถในการรับมือภัยพิบัติเหล่านี้ได้ค่อนข้างจำกัด ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จากระดับนานาชาติ 

            ดร.พิจิตต รัตตกุล กรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวถึงการจัดการประชุมวิชาการเวชศาสตร์ภัยพิบัติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 13 ว่า นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์ฉุกเฉินต่อการรับมือภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและในระดับนานาชาติ 

            การประชุมในวันนี้จึงเป็นการร่วมระดมสมอง และแชร์ความรู้ประสบการณ์จากประเทศต่างๆ กว่า 10 ประเทศ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปฏิบัติการเพื่อรับมือหากเกิดอุบัติภัยต่างๆ ขึ้นซึ่งจะสามารถช่วยชีวิตของประชาชนได้เป็นจำนวนมาก 

            นอกจากนี้ ในส่วนของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติของประเทศหลายประการ ทั้งการพัฒนาคู่มือระบบบัญชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งจัดอบรมให้กับจังหวัดต่างๆ การพัฒนาระบบการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติของโรงพยาบาล การเตรียมระบบสื่อสารสำรอง และการเตรียมทีมช่วยเหลือทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติ หรือ DMAT 

            นอกจากการดำเนินงานภายในประเทศแล้ว ปัจจุบัน สพฉ.ยังได้เป็นแกนนำในการพัฒนาระบบบริหารจัดการทางการแพทย์ และสาธารณสุขในภาวะภัยพิบัติให้แก่ทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของทีมแพทย์ฉุกเฉินระดับนานาชาติ ซึ่งถือว่า มาตราฐานการรับมืออุบัติภัยของไทยได้รับการยอมรับในระดับสากลอีกด้วย

ที่มา:     NOW26.TV     >     พิกัดข่าวทั่วไทย    /       วันที่ 07 พฤศจิกายน 2559

แชร์