ที่สุดแห่ง!! ๕ แคว้นมหาอำนาจในสมัยพุทธกาล

สมัยของพระพุทธองค์ ยุคที่เรียกแผ่นดินถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนาคืออินเดียในกาลนั้นเรียกว่าชมพูทวีป ซึ่งแบ่งเป็น 21 อาณาจักร หรือแคว้น หรือชนบท และที่เป็นมหาอำนาจ ๕ แคว้นได้แก่.. http://winne.ws/n7619

1.7 หมื่น ผู้เข้าชม
ที่สุดแห่ง!! ๕ แคว้นมหาอำนาจในสมัยพุทธกาลภาพจาก samkokview.com

          ๑. แคว้นมหารัฐมคธ หรือ แคว้นมคธ เมืองหลวงชื่อ ราชคฤห์กษัตริย์ผู้ปกครองคือ พระเจ้าพิมพิสาร ทรงปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อมาเมื่อพระราชโอรสคือ พระเจ้าอชาตศัตรู กระทำปิตุฆาต(ฆ่าพระราชบิดาตามคำยุยงของพระเทวทัต) และขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ปกครองสืบต่อมาพระองค์ทรงปกครองในระบอบเดิม
หลังพุทธกาลเล็กน้อยพระเจ้าอชาตศัตรูทรงย้ายเมืองหลวงจากราชคฤห์ไปตั้ง ณ เมือง ปาตลีบุตรและรบชนะแคว้นวัชชี ได้แคว้นนี้เป็นเมืองขึ้น

          ๒. แคว้นมหารัฐโกศล หรือ แคว้นโกศล เมืองหลวงชื่อ สาวัตถีกษัตริย์ผู้ปกครองคือ พระเจ้ามหาโกศล และพระราชโอรส คือ พระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองสืบต่อมา
พระเจ้ามหาโกศลเป็นกษัตริย์รุ่นเดียวกับพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งแคว้นสักกะ (ราชวงศ์ศากยะ)ส่วนพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นพระสหายกับพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ
มหาลิแห่งแคว้นวัชชีพันธุละแห่งแคว้นมัลละ เจ้าชายสิทธัตถะแห่งแคว้นสักกะ(แคว้นสักกะเป็นเมืองขึ้นอยู่ในอาณัติการปกครองของแคว้นโกศล)

          ๓. แคว้นมหารัฐวังสะ หรือ แคว้นวังสะ เมืองหลวงชื่อโกสัมพีกษัตริย์ผู้ปกครองคือ พระเจ้าอุเทนกรุงโกสัมพีเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญในสมัยพุทธกาล มีการติดต่อกับแคว้นโกศลแคว้นมคธ แคว้นมัลละ และแคว้นอวันตี

           ๔. แคว้นมหารัฐอวันตี หรือ แคว้นอวันตี เมืองหลวงชื่ออุชเชนีกษัตริย์ผู้ปกครองคือ พระเจ้าจัณฑปัตโชติ เคยติดต่อกับแคว้นมคธและทำสงครามกับแคว้นวังสะ

          ๕. แคว้นมหารัฐวัชชี หรือ แคว้นวัชชี เมืองหลวงชื่อเวสาลีมีการปกครองแบบสามัคคีธรรม ซึ่งบางท่านเรียกว่าการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยยุคแรก แคว้นที่ใช้การปกครองแบบนี้มีในสมัยพุทธกาลมีหลายรัฐเช่น แคว้นสักกะ แคว้นมัลละ เป็นต้น
หลังสมัยพุทธกาลเล็กน้อยแคว้นวัชชีพ่ายแพ้แก่พระเจ้าอชาตศัตรู จึงถูกรวมการปกครองเข้ากับแคว้นมคธแคว้นสักกะและศากยวงศ์

          เจ้าศากยะทั้งหลายมีเชื้อชาติเป็นชาวอริยะหรืออารยันซึ่งเหล่าศากยวงศ์ล้วนมีลักษณะเฉพาะตัวที่สำคัญประการหนึ่งคือถือตัวจัดด้วยถือว่าชาติตระกูลของตนอยู่ในวรรณะกษัตริย์ อันเป็นวรรณะสูงสุดแม้ในเหล่าวรรณะกษัตริย์ด้วยกัน เจ้าศากยะก็ถือตัวว่ายิ่งใหญ่และบริสุทธิ์โดยสายเลือดกว่าใครๆ ด้วยเหตุนี้บรรดาเจ้าศากยะจึงอภิเษกสมรสกันในหมู่พี่น้องร่วมพระบิดามารดาเดียวกันหรือในหมู่วงศานุวงศ์ใกล้ชิด เช่นกับราชวงศ์โกลิยะ แห่งกรุงเทวทหะซึ่งสืบเชื้อสายมาจากต้นตระกูลเดียวกัน

          ต้นตระกูลของวงศ์ศากยะ คือ พระเจ้าโอกากราช จนถึงสมัยพระเจ้าสุทโธทนะกับ พระนางสิริมายาปกครองกรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะในสมัยนั้นสักกะเป็นแคว้นเล็ก ๆ ไม่มีกำลังทหารกล้าแข็งอยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นโกศล คือตกเป็นประเทศราชซึ่งพระเจ้ามหาโกศลกษัตริย์แห่งแคว้นโกศลได้ให้อำนาจการปกครองแก่พระเจ้าสุทโธทนะตามสมควรดังนั้นจึงมีการปกครองแบบประชาธิไตยแบบสืบสันตติวงศ์ต่อมาภายหลังเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายนันทะและเจ้าชายราหุล ทรงออกผนวชหมดแล้วระบอบการปกครองจึงเปลี่ยนเป็นแบบสามัคคีธรรมคือเจ้าศากยะผลัดเปลี่ยนกันปกครองแคว้น วาระละ ๑ ปี

ขอบคุณข้อมูลจาก.phuttha.com

แชร์