พระพุทธศาสนา ตอนที่ 06 : ไตรลักษณ์ ?!?

ไตรลักษณ์ หมายถึงความจริงตามธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ (หรือเป็นอยู่) และพบเห็นได้ในสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่นั้น ประกอบด้วย ลักษณะ 3 อย่างคือ ความไม่เที่ยง-อนิจจัง ความไม่พอใจ-ทุกขัง และ ความไม่ใช่ตน-อนัตตา http://winne.ws/n24706

4.4 พัน ผู้เข้าชม

เรามาศึกษาพระพุทธศาสนา ผ่านการพูดคุยของคนที่อยากรู้ตัวจริง

พระพุทธศาสนา ตอนที่ 06 : ไตรลักษณ์ ?!?

ทอม :    เรื่องไตรลักษณ์เป็นคำสอนสำคัญเรื่องหนึ่ง

             ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใช่ไหมครับ ?

พิม :      ใช่ค่ะ  เรื่องนี้เป็นคำสอบที่เป็นพื้นฐานสำคัญ

             ของพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับ อริยสัจ 4

             กฎแห่งกรรม  ปฏิจจสมุปบาท และ ขันธ์ 5

             เรื่องไตรลักษณ์นี้เป็นส่วนของสิ่งที่เรียกว่า

             แก่นแห่งปัญญาก็ว่าได้

ทอม :   คุณช่วยอธิบายขยายความถึงประโยชน์ของ

             การเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์หน่อยได้ไหมครับ?

พิม :     ประการแรกเราต้องทำความเข้าใจคำว่า

            “ลักษณ์” ให้ชัดเจนเสียก่อน

            พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า ลักษณ์”

            ซึ่งหมายถึงความจริงตามธรรมชาติของสิ่งต่างๆ

            ที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่(หรือเป็นอยู่)

            และพบเห็นได้ในสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่นั้น

            เมื่อเข้าใจธรรมชาติของสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่

            เราย่อมรู้วิธีที่จะข้องเกี่ยวกับสิ่งนั้นได้อย่างฉลาด

            ทำนองเดียวกับที่เรารู้ว่าธรรมชาติหรือ

            ลักษณ์ของไฟก็คือความร้อน 

            เราจึงรู้วิธีใช้ประโยชน์จากไฟ 

            รู้จักควบคุมไฟฯลฯ

ทอม :  ธรรมชาติที่สามารถพบได้ในสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่คืออะไร?

พิม :    ธรรมชาติที่สามารถพบได้ในสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่

            ประกอบด้วยลักษณะ 3 อย่างคือ

            ความไม่เที่ยงแท้ หรือ อนิจจัง

            ความทุกข์ หรือ ทุกขัง  และ

            ความไม่ใช่ตน หรือ อนัตตา

ทอม :  นี่คือเหตุผลที่เรียกว่าไตรลักษณ์ ใช่ไหมครับ ?

พิม :    ถูกแล้วค่ะ  เมื่อเข้าใจธรรมชาติของสิ่งที่มีอยู่

            เป็นอยู่เราย่อมรู้จักปล่อยวางได้

ทอม :  เกิดขึ้นได้ยังไงครับ?

พิม :    เมื่อเราเข้าใจว่าร่างกายของเราตลอดจน

           สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนไม่คงที่

            เข้าใจว่าเราต้องตายได้ทุกขณะ

            เข้าใจเช่นนี้แล้ว 

            เราย่อมจะไม่ยึดมั่นถือมั่น

            ในร่างกาย สมบัติ หรือแม้คนที่เรารัก

            เราไม่ยึดมั่นถือมั่นกับคนหรือสิ่งเหล่านั้น

           ก็เพราะเรารู้ว่าถ้าเราไปยึดติดเราก็จะเป็นทุกข์

           และเพราะเรารู้ว่าเมื่อเราตายไป

            เราก็ต้องทิ้งทุกอย่างไว้เบื้องหลัง

            เมื่อเรากำจัดความยึดมั่นถือมั่นได้

            เราย่อมกำจัดอวิชชาออกไปได้ด้วย

            จึงทำให้เกิดปัญญาและกรุณาขึ้นมาแทน

            นอกจากนั้นเรายังจะเกิดกำลังใจที่จะปฏิบัติ

            ต่อผู้อื่นด้วยการเอาใจเขามาใส่ใจเรา

            มากกว่าจะเอาเปรียบผู้อื่น

            เพราะเหตุที่มีความกรุณาเราจึงมีความมุ่งมั่น

            ที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยการบริจาคหรือ

            อุปถัมภ์องค์กรการกุศลอย่างเต็มความสามารถ

            เพราะเหตุที่มีปัญญา เราจึงศรัทธามั่นว่า

            กรรมดีที่เราทำในชาตินี้จะส่งผลดีในชาติหน้า

            กล่าวโดยย่อก็คือ  เรามีความมุ่งมั่นที่จะทำแต่

            กุศลกรรมเพื่อสันติสุขของตัวเราและสังคมส่วนรวม

            ความคิดเช่นนี้คือความคิดสั่งสมบุญบารมีนั่นเอง

ทอม :  เอ้อ  ผมยังไม่เข้าใจประโยชน์ของการเข้าใจเรื่องอนัตตา

พิม :    ถ้าเราเข้าใจเรื่อง “อนัตตา”

           ก็จะได้ประโยชน์อย่างน้อย 2 อย่าง

           ประการแรกก็คือเราทุกคนจะสามารถคบค้าสมคมกับ

           คนอื่นได้โดยปราศจากความหวาดกลัวหรือระแวง

           ทั้งนี้ก็เพราะเราไม่ติดอัตตา ไม่ต้องคอยระวังปกป้อง

           ตนเอง ทรัพย์สินเกียรติยศ ชื่อเสียง ความคิดเห็น

           แม้กระทั่งคำพูดของเรา

           ประการที่สองก็คือเราจะไม่สร้างกำแพงขึ้นระหว่าง

           ตัวเรากับผู้คนอื่นๆ และสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมเราอยู่

           ถ้าเราเชื่อมั่นในอัตตา เราย่อมจะปฏิบัติต่อคนอื่น

           และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราด้วยความโลภ  หรือไม่ก็

           ความโกรธ  อาฆาตพยาบาท ในกรณีเช่นนี้ อัตตา

           จึงเป็นแหล่งกำเนิดและเป็นเหตุแห่งทุกข์

ทอม :  อืม  การเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์นี่ ไม่ได้มีประโยชน์

           เฉพาะในชีวิตประจำวันเท่านั้นนะ

           แต่ยังมีคุณค่าต่อสังคมและชาวโลกอีกด้วย

พิม :   จริงทีเดียวค่ะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ : อ. สุวณีย์ ศรีโสภา (Cr. ครูบาอาจารย์ผู้ทุ่มเท)

ขอขอบคุณรูปภาพ :  ไตรลักษณ์

แชร์