ประโยชน์ตาลโตนด เป็นทั้งอาหารและยา มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
พบบันทึกเกี่ยวกับตาลโตนดที่เก่าแก่ในคัมภีร์พระพุทธประวัติที่ปรากฏคำว่า “ตาล” หรือ “ตาละ” ที่หมายถึงต้นตาลโตนด ซึ่งเป็นหนึ่งในพรรณไม้ที่ถูกกล่าวถึงขณะที่พระองค์เสด็จไปประทับ ณ ลัฏฐิวนอุทยาน (ลัฏฐตาล) http://winne.ws/n22070
ต้นตาลโตนด (Palmyra Palm) เป็นไม้ในตะกูลเดียวกันกับปาล์ม และมะพร้าว จัดเป็นไม้ชนิดให้ผลที่พบได้ทั่วไปในทุกภาค มีประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ ลูกตาลอ่อน น้ำตาลสด ผลแก่ใช้ทำขนมตาล แก่นไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ชื่ออังกฤษ : Palmyra Palm, Lontar, Fan Palm
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Borassus flabellifer Linn.
– ภาคกลาง และทั่วไป เรียก ต้นตาลโตนด, ต้นตาล
– ภาคใต้ เรียก ตาลโตนด หรือ ต้นโตนด
– ยะลา และปัตตานี เรียก ปอเก๊าะตา
ประวัติต้นตาลโตนด
ต้นตาลโตนดเป็นพืชในตระกูลปาล์ม มีการสันนิษฐานว่ามีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกา ต่อได้มีการกระจายพันธุ์มาทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย และแพร่มาสู่แถบประเทศเอเชียอาคเนย์ รวมถึงประเทศไทยที่น่าจะเริ่มการปลูกครั้งแรกบริเวณแถบจังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะเมืองท่าที่มีการค้าขายกับชาวอินเดียในสมัยนั้น
พบบันทึกเกี่ยวกับตาลโตนดที่เก่าแก่ในคัมภีร์พระพุทธประวัติที่ปรากฏคำว่า “ตาล” หรือ “ตาละ” ที่หมายถึงต้นตาลโตนด ซึ่งเป็นหนึ่งในพรรณไม้ที่ถูกกล่าวถึงขณะที่พระองค์เสด็จไปประทับ ณ ลัฏฐิวนอุทยาน (ลัฏฐตาล) ในพรรษาที่สองหลังจากตรัสรู้ เพื่อโปรดพระเจ้าพระพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ รวมทั้งบริวาร ซึ่งมีช่วงหนึ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงดำรัสว่า ป่าไผ่นั้นร่วมเย็นดีกว่าป่าตาล นอกจากนั้นในพุทธประวัติยังมีช่วงหนึ่งที่กล่าวถึง พระวินัยที่ทรงห้ามนำผลไม้หรือพืช 10 ชนิด ใช้ทำน้ำอัฐบาน เพราะเป็นผลไม้ที่ห้ามรับประทานหลังเที่ยงแล้ว ซึ่ง 1 ใน 10 เป็นลูกตาลด้วย
ประวัติต้นตาลโตนดที่พบบัทึกในประเทศไทยนั้นเริ่มพบหลักฐานในสมัยทวราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) ที่มีการใช้ตราประทับรูปคนปีนตาล นอกจากนั้น มีการพบบันทึกเกี่ยวกับตาลโตนดในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงในช่วงหนึ่งที่แปลได้ว่า ในปีมะโรง ศกที่ 1214 พ่อขุนรามคำแหงขณะพระชนมายุ 14 พรรษา ได้ทรงปลูกไม้ตาลไว้กลางเมืองสุโขทัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ตาลโตนด เป็นไม้วงศ์ปาล์ม และมะพร้าว แต่มีลำต้นแข็งแรง และอายุยืนยาวมากกว่า อายุยืนประมาณ 80-100 ปี โตเต็มที่สูงได้กว่า 18- 25 เมตร หรือมากกว่า เริ่มให้น้ำตาล และลูกได้เมื่ออายุประมาณ 10-15 ปี เป็นพืชที่ขึ้นได้บนดินทุกชนิด ทนแล้ง และน้ำท่วมได้ดี ไม่มีผลต่อพืชอื่นๆรอบข้าง เช่น นาข้าว สวนผัก
ประโยชน์ตาลโตนด
1. ต้นตาล
– ใช้เป็นเชื้อเพลิง
– ใช้สำหรับงานก่อสร้า้ง เช่น เสาเรือน กระดานพื้นบ้าน เสาสะพานปลา ใช้ทำเป็นที่เกาะของหอยนางรม เป็นต้น โดยเฉพาะต้นตาลแก่
– ใช้ประดิษฐ์ของใช้ต่าง ๆ เช่น ขันตักน้ำ เครื่องเล่น โต๊ะ ม้านั่ง เก้าอี้ กล่องใส่ของ และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เป็นต้น
กาบตาล
2. กาบตาลหรือทางตาล
– ใช้ทำฟืน เป็นเชื้อเพลิง
– ทำรั้วบ้าน รั้วไร่นา คอกสัตว์
– เส้นใยกาบตาล ใช้ทำเชือก เครื่องจักสานต่างๆ เช่น หมวก กระเป๋า ไม้กวาด และกล่องใส่กระดาษทิชชู่ เป็นต้น
3. ใบตาล
– คนโบราณใช้แทนกระดาษเขียนหนังสือ เขียนบันทึกตำรา คัมภีร์ต่างๆ
– ใช้ทำของเล่นเด็ก เช่น กังหันลม สานเป็นตะกร้อ ปลาตะเพียน
– ใช้สานเป็นของใช้ เช่น หมวก ภาชนะใส่สิ่งของ ทำถาดอาหาร ใช้ทำพัดขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “ตาลปัตร” เป็นต้น
– ใช้ในงานก่อสร้าง มุงหลังคา กั้นฝาบ้าน
– ใช้ทำอาหาร ขนมหวาน เช่น เผาเป็นขี้เถ้าละลายน้ำสำหรับทำขนมเปียกปูน
– ใช้หมักทำปุ๋ย
ลูกตาลอ่อน
4. ผลอ่อนหรือลูกตาลอ่อน
– ผลอ่่อนตาลที่เก็บหลังจากออกจั่น 2-3 เดือน นำมาเฉาะเอาเนื้อด้านใน ที่เรียกว่า “จาวตาล” ตาล 1 ลูก จะมีลอนตาลประมาณ 3 ลอน นำมารับประทานเป็นผลไม้ มีรสนุ่มหอมหวาน
– ลูกตาลที่แก่จัดจะมีจาวตาลเหนียว แข็ง ใช้ทำจาวตาลเชื่อม
– ลูกตาลที่แก่จัดจะมีสีเหลืองสด นำมาคั้นน้ำ และเอาเส้นใยออกจะได้น้ำสีเหลือง มีกลิ่นหอม ใช้ต้มดื่มหรือทำอาหารคาวหวาน เช่น แกงหัวตาล ขนมตาล
– ลูกตาลแก่ใช้ประดิษฐ์เป็นของเล่น เช่น ทำล้อรถเด็ก ตุ๊กตา กะลาตาล
– เนื้อตาลแก่ใช้เผาทำถ่านสำหรับผสมยาสีฟัน ผลอ่อน และจาวตาล ใช้ทำอาหารคาวหวาน
ลูกตาลสุกสีเหลือง
5. ผลแก่
– ผลแก้นำมาฝานเปลือก นำเปลือกที่เป็นเส้นใยสีเหลืองคั้นเอาน้ำสำหรับทำขนมตาล
– น้ำคั้นลูกตาลแ่ก่ ใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ ยาสระผม
– ใยลูกตาลแก่ที่เหลือจากคั้นแล้ว ใช้เป็นฝอยล้างจาน หรือนำมาเป็นฝอยขัดตัว
– ผลตาลแก่นำมาเพาะขายพันธุ์
6. ช่อดอก และน้ำตาล
– ช่อตาลหรืองวงตาล เมื่อปาดขณะมีดอก จะได้น้ำหวาน เรียกว่า “น้ำตาลสด หรือ น้ำตาลโตนด” ใช้รับประทานสดๆ
– น้ำตาลโตนดใช้เคี่ยวทำน้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊ป ทำน้ำผึ้งตังเม
– น้ำตาลโตนดนำมาหมักทำเป็นน้ำส้มสายชู กะแช่ หรือกลั่นเหล้าน้ำตาล
ขนมตาล
สรรพคุณตาลโตนด
1. ช่อดอก และน้ำตาล
– น้ำตาลสดใช้เป็นยาระบาย เป็นกระสายยาบำรุง
– ช่อดอกหรืองวงตาลที่ยังอ่อนนำมาฝานต้ม เป็นยาบำรุงหัวใจ ยาเจริญอาหาร รักษาตาลโขมยในเด็ก ฝนทำยารักษาแผล แก้ร้อนใน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับพยาธิ
2. ผลตาล
ผลตาลแก่ คั้นเอาน้ำจากเปลือกผล ใช้ต้มดื่ม กินแก้โรคตานขโมย ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไข ร้อนในกระหายน้ำ หรือใช้แช่น้ำอาบ แก้ผดผื่นคัน
3. ก้านตาล และใบตาล
– ก้านตาลหรือทางตาลสดนำมาเผาไฟแล้วคั้นเอาน้ำดื่มสำหรับเป็นยาแก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย
-นำใบมาต้มน้ำดื่ม แก้อาการกระสับกระส่ายหลังคลอด แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย และช่วยลดความดันโลหิต
4. รากตาลโตนด
รากนำมาต้มดื่ม แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ซางเด็ก บำรุงร่างกาย ขับปัสาสาวะ และใช้ขับพยาธิ
ที่มา : สำนักงานการเกษตรจังหวัดสงขลา, 2542.(1), พระสมพงษ์ เนาสันเทียะ, 2552.(2), สมเกียรติ ขันอ่อน, 2552.(3)
อ่านต่อได้ที่ : http://puechkaset.com/ตาลโตนด/