"โรงเรียน" ใน "โรงงาน" ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน

การพัฒนากำลังคนผ่านระบบโรงเรียนในโรงงาน นี้ทำงานร่วมกัน 3 ฝ่าย คือภาคเอกชน ที่ต้องการช่างฝีมือภาครัฐ ที่ทำหน้าเป็นคนกลางเชื่อมประสาน และสถานศึกษา จะเป็นตัวป้อนนักเรียน นักศึกษา ซึ่งเห็นผลผลดีเพราะทุกฝ่ายร่วมมือร่วมแรงกัน http://winne.ws/n18042

2.4 พัน ผู้เข้าชม
"โรงเรียน" ใน "โรงงาน" ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน

WiL : โรงเรียนในโรงงาน
พัฒนา"ช่างเทคนิค"รองรับภาคอุตสาหกรรม

ปัจจุบันประเทศไทยมีความจำเป็นต้องพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยเฉพาะ "ระดับช่างเทคนิคที่มีคุณภาพ" โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งมีความต้องการจำนวนมาก และในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีโครงการหนึ่งที่มาจากความร่วมมือระหว่างรัฐกับภาคเอกชน ซึ่งทำได้ชัดเจนที่สุด นั้น การพัฒนากำลังคนผ่านระบบโรงเรียนในโรงงาน ขับเคลื่อนโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)

การพัฒนากำลังคนผ่านระบบโรงเรียนในโรงงาน นี้ทำงานร่วมกัน 3 ฝ่าย คือภาคเอกชน ที่ต้องการช่างฝีมือภาครัฐ ที่ทำหน้าเป็นคนกลางเชื่อมประสาน และสถานศึกษา จะเป็นตัวป้อนนักเรียน นักศึกษา ซึ่งเห็นผลผลดีเพราะทุกฝ่ายร่วมมือร่วมแรงกัน ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนหรือสถานประกอบการ ที่ผ่อนคลายหลักสูตรเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา สามารถเข้าฝึกปฏิบัติงานหรือฝึกงานในโรงงานได้จริงๆ โดยมีนายช่างชำนาญการ มาฝึกทักษะให้ ขณะที่สถานศึกษา ก็ต้องส่งอาจารย์/ครูช่างมาสอนทางด้านทฤษฎีเติมให้เต็มด้วย และภาครัฐอย่าง สวทน.ซึ่งเป็นคนกลางต้องเป็นตัวเชื่อมกันให้ได้เพื่อให้เกิดพลัง ต่อยอดต่อไปในอนาคต

"โรงเรียน" ใน "โรงงาน" ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน

ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการ สวทน. กล่าวถึงโครงการบูรณาการการเรียนกับการทำงาน "วิล" (Work-integrated Learning :WiL) เพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษา ซึ่ง สวทน.ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษา รับสมัครนักเรียนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาสายสามัญ จากโรงเรียนในชนบทเข้าโครงการ 

โดยเด็ก ๆ ในโครงการนอกจากจะได้เรียนจนสำเร็จการศึกษาแล้ว ระหว่างที่เรียนยังได้ฝึกประสบการณ์จริงจากการทำงาน ในสายการผลิตของภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่เข้าร่วมโครงการ มีการนำเอาความรู้จากงานที่ทำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และยังได้รับค่าแรงเป็นรายได้ระหว่างเรียนอีกด้วย

"โรงเรียน" ใน "โรงงาน" ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน

ด้าน รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ล้านนา กล่าวว่า หัวใจสำคัญ คือความร่วมมือจากสถานประกอบการ เพราะเราต้องเรียนรู้ความต้องการของตลาดแรงงานด้วย ซึ่ง มทร.ล้านนา ให้ความสำคัญเรื่องอุตสาหกรรม โดยทำความร่วมมือกับสถานประกอบการทั้ง สยามมิชลิน และ BDI (วิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งนักศึกษาโครงการ WiLเมื่อจบออกมาแล้วจะเป็นช่างระดับฝีมือที่มีคุณภาพ

ขณะที่นายสิทธิพรชัย รัตนะ ผู้จัดการโครงการกับสถาบันการศึกษา บริษัท สยามมิชลิน จำกัด กล่าวเสริมในมุมของสถานประกอบการ จะมองเรื่องเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่สิ่งที่แปลกก็คืออัตราการว่างงาน กับมีทิศทางที่ตรงกันข้ามกับตลาดแรงงาน เหตุผลเพราะเยาวชนไปเรียนอยู่ในจุดที่ไม่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ

"โรงเรียน" ใน "โรงงาน" ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน

"โครงการที่สยามมิชลิน ทำร่วมกับ มทร. ล้านนา เป็นการตอบโจทย์ทั้งเรื่องภาคอุตสาหกรรมและภาคสถาบัน ซึ่งที่จริงแล้วเราโฟกัสไปที่ผู้เรียน โครงการนี้ไม่ได้ผูกมัด แต่อยากจะทำด้วยความตั้งใจมากกว่า ซึ่งต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย เป็นการเปิดโอกาสให้กับนักศึกษา เพราะเมื่อเข้าสู่โครงการเราจะมีเงินสนับสนุนช่วยเหลือทั้งค่าเดินทางที่พัก และการลงทะเบียน ซึ่งเปิดโอกาสให้เข้าสู่ภาคการศึกษาได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ จะมีการประเมินว่า 3 ปีที่อยู่ในโรงงาน นักศึกษามีศักยภาพการทำงานและคุณภาพมากแค่ไหน และหลังจบการศึกษาแล้วก็ขึ้นอยู่กับนักศึกษาว่าจะตัดสินใจทำงานกับเรา หรือไม่ทำก็ได้" นายสิทธิพรชัย กล่าว

เช่นเดียวกับ "บรินดา จางขจรศักดิ์" ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน (BDI) กล่าวว่า BDI ได้ทำความร่วมมือกับ มทร.ล้านนา โดยรับนักศึกษาจากมทร.ล้านนา เรียนรู้ศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งก็หมายความว่านักศึกษาเข้ามาฝึกงาน แต่ก็ทำงานจริงด้วยเป็นระยะเวลา2 ปี

"โรงเรียน" ใน "โรงงาน" ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน

แต่เนื่องจากเป็นนักศึกษาสายครุศาสตร์ ก็คือจะต้องฝึกสอนที่วิทยาลัยของเราอีก 1 ปี รวมเป็น 3 ปี เพื่อที่จะค้นหาครูช่างที่มีคุณภาพ ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้จะมาฝึกทั้งทำงานที่โรงงาน ในสายการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งเรายกทั้งหมดมาไว้อยู่ในโรงเรียนด้วย โดยเอาบริบททั้งหมดที่เขาได้เรียนจากโรงงาน มาทำเป็นหลักสูตรเป็นคู่มือ ดังนั้นก็จะเป็นครูช่างรุ่นใหม่ของ WiL มาออกแบบหลักสูตรตามสมรรถนะที่เหมาะสมตรงกับโรงงานที่ต้องการ 100%

นอกจากจะทำโครงการร่วมกับ มทร. ล้านนา แล้วทาง BDI เองก็ทำโครงการ WiLด้วยตนเองเช่นกันในระดับ ปวช. ซึ่งได้ผลดีมากเพราะจากกระบวนการการเรียนรู้ ครูเข้าใจมากขึ้น นักเรียนก็เข้าใจบทบาทของตัวเองมากขึ้น การเรียนรู้ก็สนุกสนาน ไม่ต้องมานั่งเครียด หรือเรียนแต่เรื่องทฤษฎี ซึ่งทฤษฎีทั้งหมดก็จะมาจากบริบทของโรงงาน และที่สำคัญชิ้นส่วนที่ผลิตออกไปก็ขายได้ด้วย

"เมื่อได้เรียนในโครงการนี้แล้ว ทุกคนเข้าใจและเห็นอนาคตของตัวเองอย่างชัดเจน การันตีได้ว่าถ้าจบจากเราแล้วมีงานทำแน่นอน" บรินดา กล่าวทิ้งท้าย


ที่มา: http://www.siamrath.co.th/n/21559

แชร์