พระพุทธศาสนา ตอนที่ 09 : อนัตตา ???
อนัตตา คือ ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ฉัน หมายถึง ตน หรือ ฉัน เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ไม่เป็นอิสระ และไม่มั่นคงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งที่ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ไม่ใช่ตน เป็นอนัตตา http://winne.ws/n24873
เรามาศึกษาพระพุทธศาสนา ผ่านการพูดคุยของคนที่อยากรู้ตัวจริง
ทอม : เมื่อพูดถึงไตรลักษณ์ ผมคิดว่า
2 เรื่องแรกไม่ยากเกินไปสำหรับผม
แต่เรื่องที่ 3 เข้าใจยากมากทีเดียว
พิม : ค่ะ 2 เรื่องแรกเป็นสิ่งที่เราได้เห็น
ได้ประสบกันในชีวิตประจำวัน
ศาสนาอื่นก็มีการสอนกัน
แต่เรื่องที่ 3 คือ อนัตตา จะมีแต่ใน
พระพุทธศาสนาเท่านั้น และเป็น
คำสอนที่โดดเด่นของพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า
ทอม : “อนัตตา”มีความหมายอย่างไรครับ ?
พิม : เพื่อที่จะให้เข้าใจความหมายของ
“อนัตตา” (ไม่ใช่ตน) เราควรกลับไป
ดูความหมายของคำว่า “ตน” เสียก่อน
ในทางศาสนา คำว่า “ตน” หมายถึง
สิ่งที่มีอยู่จริง เป็นอิสระ ไม่เปลี่ยนแปลง
ซึ่งแสดงได้ด้วยคำว่า “ฉัน”
ทอม : เพราะฉะนั้น “ไม่ใช่ตน” ก็หมายความ
ว่า คำว่า “ฉัน” เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
ไม่เป็นอิสระ และเปลี่ยนแปลง
ใช่ไหมครับ ?
พิม : ใช่ค่ะพูดง่าย ๆ ก็คือ “ฉัน” ไม่ใช่ตน
ทอม : ตามธรรมดาเราก็พูดว่า “ฉันเป็น
ผู้ชาย” หรือ “ฉันกำลังนั่ง” หรือ
“ฉันกำลังทำนั่นทำนี่” ผมประหลาดใจ
ว่าทำไมพระพุทธศาสนาจึงปฏิเสธ
ความจริงของคำว่า “ฉัน”
พิม : ฉันคิดว่าการปฏิเสธคำว่า “ฉัน”
ตามหลักพระพุทธศาสนาไม่ได้เป็น
การปฏิเสธการใช้สรรพนามคำว่า
“ฉัน” แต่ปฏิเสธแนวคิดของคำว่า
“ฉัน” ที่มีความหมายว่าเป็นสิ่งถาวร
ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ก็เพราะจาก
การวิเคราะห์องค์ประกอบของบุคคล
ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น มนุษย์
ประกอบด้วยขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร และวิญญาณ
จากการวิเคราะห์นี้ไม่ได้พบ“ตน”
นั่นคือทั้งกายทั้งใจไม่ใช่ตน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้รถและ
ป่า เป็นตัวอย่างประกอบการอธิบาย
ความสัมพันธ์ระหว่างคำว่า “ฉัน”
กับองค์ประกอบของบุคคล ทรง
อธิบายว่ารถนั้นประกอบขึ้นมาจาก
ชิ้นส่วนต่าง ๆ ซึ่งประสานกันอย่าง
พอเหมาะ ตัวรถไม่ใช่รถ เพลาและ
ล้อก็ไม่ใช่รถ ในทำนองเดียวกัน
ต้นไม้แต่ละต้นก็ไม่ใช่ป่า
ต้นไม้จำนวนมามายมหาศาลที่ขึ้น
อยู่ในป่าก็ไม่ใช่ป่า คำว่า “ป่า” เป็น
เพียงชื่อที่บัญญัติขึ้นสำหรับเรียก
ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้การ
วิเคราะห์เดียวกันนี้กับร่างกายและใจ
ของคนเพื่อแสดงให้เห็นว่าตนไม่มีอยู่
ในกายหรือจิต ถ้ากายและจิตเป็นตน
กายและจิตก็ต้องมั่นคงถาวรอยู่นิรันดร์
ทอม : กายกับใจไม่ใช่ตน ใช่ไหมครับ ?
พิม : ไม่ใช่แน่นอนค่ะ
ทอม : เพราะฉะนั้น “ฉัน” ก็ไม่ใช่ตน
เพราะ เปลี่ยนแปลง ชรา
แตกสลาย และ ตาย
พิม : ตอนนี้คุณเห็นหรือยังว่า
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์
สิ่งที่ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ไม่ใช่ตน
(เป็นอนัตตา)
ทอม : ครับ ผมเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์ดีขึ้น
แล้วครับ ขออนุโมทนาด้วย
พิม : สาธุ
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ : อ. สุวณีย์ ศรีโสภา (Cr. ครูบาอาจารย์ผู้ทุ่มเท)
ขอขอบคุณรูปภาพ : Bua loy