บ้านดิน-ปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตร ที่วัดป่าศรีแสงธรรม จ.อุบลราชธานี

เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี นำพี่น้องประชาชนในพื้นที่ร่วมกิจกรรม ทำบ้านดินและปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตร ณ ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ http://winne.ws/n28587

1.3 พัน ผู้เข้าชม
บ้านดิน-ปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตร ที่วัดป่าศรีแสงธรรม จ.อุบลราชธานี

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2565 พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย  พระนักพัฒนาที่เสียสละและร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนมาโดยตลอดตามหลัก "บวร" หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ นำพี่น้องประชาชนในพื้นที่ร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ทำบ้านดินและปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตร ณ ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." ณ วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

พระปัญญาวชิรโมลี  ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เปิดเผยถึงการทำบ้านดินว่า  สำหรับการทำบ้านดิน (Earth Bags) เป็นการสร้างบ้านดินแบบกระสอบดินเรียงกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ จนถึงหลังคา บางที่จะทำโครงสร้างหลังคาใส่ แต่บางที่ก็ทำเวียนๆ กันขึ้นจนถึงยอด อย่างเช่นที่วัดป่าศรีแสงธรรม แห่งนี้ จะมีบ้านดินหลายแบบ แต่ที่ใช้งานได้จริงก็จะเป็นแบบขนมชั้น และแบบกระสอบดิน ซึ่งน่าสนใจทำเป็นกุฏิรับรองแขกที่มาเยี่ยมเยียนวัด หรือทำเป็นกุฏิสำหรับพระสงฆ์ หรือตามศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา พช. ก็เข้ากันได้ดี

บ้านดิน  ถ้าทำระบบกันความชื้น ระบบระบายอากาศดีๆ จะอยู่สบายมาก ถ้าเดินอยู่ข้างนอกร้อน ๆ เข้าไปในจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทันที ด้วยผนังที่ความร้อนผ่านได้ยาก ต้องใช้เวลาเป็นสิบชั่วโมงความร้อนจึงจะผ่านเข้าไปในห้องได้ ถ้าเป็นหน้าหนาว ตอนหัวค่ำจะอุ่นพอดี คนชอบสไตล์ธรรมชาติก็บอกว่าสร้างบ้านหลังละแสนทั่วไปก็ไม่มีคนไปดู แต่พอเป็นบ้านดินรู้สึกจะมีคุณค่าขึ้นมาทันที บ้านดินหลังนี้จะผสมผสานทรงกลมกับทรงเหลี่ยมเข้าด้วยกัน และมีหลังคาดิน กับมีหลังคากระเบื้องเข้าด้วยกัน โดยมี ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ช่วยออกแบบให้ ซึ่งเบื้องต้นจะเทคาน และเทพื้นไว้ แล้วค่อยกรอกดินใส่กระสอบประมาณ 2,000 ลูก ทยอยวางเรียงกันไปเรื่อยๆ ใช้ดินเหนียวอัดร่องที่วางกระสอบให้เรียบแล้วค่อยเอาปูนฉาบรอบกันดินร่อนเร็ว และกันดินร่วงเวลาเข้าอยู่ซึ่งเป็นปัญหาของบ้านดินทั่วไป งบประมาณที่ใช้น่าจะเป็นคอนกรีตโครงสร้าง กับหลังคา และแรงงาน หลังนี้น่าจะประมาณสามแสนบาท ท่านใดจะร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างบ้านดิน หรือจะมาช่วยออกแรงเอามื้อสามัคคีต้านไวรัสโควิด-19 กลางแดด ก็เชิญเข้ามาที่วัดได้เลย

อ่านข่าวเพิ่มที่ บ้านเมือง

แชร์