อยากถามว่าจะผิดไหม!! หากจะบอกว่าไม่เข้าใจ อัยการขจรศักดิ์
ไม่คิดไม่แปลก แต่ถ้าคิดแล้วแปลก!!! เพราะเมื่อย้อนไปถึงคำสัมภาษณ์ของอัยการท่านนี้ท่านมักย้ำเสมอว่า “การแจ้งข่าวกล่าวหา การรับทราบข้อกล่าว ต้องทำในสถานที่ของพนักงานสอบสวนเท่านั้น” (ข้อมูลจากรายการเผชิญหน้า) http://winne.ws/n5124
ช่วงนี้กระแสข่าววัดพระธรรมกายเริ่มโหมกระแสลงบ้าง ล่าสุดนับเป็นข่าวดีที่ท่านนายกรัฐมนตรีผู้มีคุณธรรมในหัวใจระบุไม่ใช่มาตรา 44 ในการนำกองกำลังมาตรวจค้นวัดพระธรรมกาย ซึ่งตรงตามเจตนารมณ์ของคสช. ที่อยากให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย
แต่อย่างไรก็มีขบวนการป่วนอยู่เช่นเคย ตอนนี้มุ่งไปที่สาขาในประเทศอีกหลายแห่งโดยเฉพาะบนพื้นที่ภูเขาในเขตภาคเหนือ ซึ่งเร็วๆ นี้ ได้ฟังศิษย์ธรรมกายท่านนึงเล่าในกรณีนี้ว่า
"ความเป็นจริงหลายๆวัดที่ดีเอสไอไปบุกนั้นเคยเป็นวัดร้างมาก่อน ไม่มีพระอยู่ พระผู้ปกครองและชาวบ้านทนไม่ได้ก็นิมนต์พระในโครงการบวชแสนรูปไปรักษาวัด พัฒนาจากร้างเป็นรุ่งด้วยน้ำพักน้ำแรงเป็นสิบๆปี มาวันนี้ทางราชการจะขอบุกยึด โดยไม่ถามชาวบ้านที่ร่วมสร้างวัดซักคำ"
วันก่อนมีข่าวนึงที่ซุ่มออกมาเงียบๆท่ามกลางกระแสเสียงครึกโครมกับข่าวที่รองผบ.ตร กำลังบุกไปที่เขาใหญ่และอีกหลายๆ แห่ง คือ ข่าวของอัยการขจรศักดิ์ โดยล่าสุดเมื่อเมื่อวันที่"7 กรกฎาคม 2559 เว็บไซต์สถานีเนชั่นได้รายงานว่า"เจ้าหน้าที่ดีเอสไอเดินทางไปเรือนจำ เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มกับอดีตประธานกรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ในข้อหาคดีฟอกเงินเพิ่มอีก 3สำนวน"
ซึ่งในภาพคืออัยการขจรศักดิ์ พุทธานุภาพ อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 3 ที่ปรึกษาคนสำคัญของดีเอสไอนั่นเองและนี้ก็นับเป็นครั้งที่สองแล้วที่มาแจ้งข้อกล่าวคุณศุภชัยที่เรือนจำ
ไม่คิดไม่แปลกแต่ถ้าคิดแล้วแปลก!!! เพราะเมื่อย้อนไปถึงคำสัมภาษณ์ของอัยการท่านนี้ท่านมักย้ำเสมอว่า “การแจ้งข่าวกล่าวหา การรับทราบข้อกล่าว ต้องทำในสถานที่ของพนักงานสอบสวนเท่านั้น” (ข้อมูลจากรายการเผชิญหน้า)
ทีนี้มันชักจะแปลกแล้วละครับ ซึ่งเป็นที่สงสัยว่า อัยการขจรศักดิ์ มาแจ้งข้อกล่าวหาที่เรือนจำได้อย่างไรเพราะเรือนจำหรือคุกไม่ใช่ที่ทำการของพนักงานสอบสวนหรือดีเอสไอดังที่กล่าวอ้างมาตลอด
ลูกศิษย์ธรรมกายจึงเอาเคสนี้มาเทียบกับกรณีพระธัมมชโยที่ถูกออกหมายจับ เพราะเหตุไม่ไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ดีเอสไอ แม้อ้างว่าป่วยก็ตามแต่ก็ไม่มีการส่งแพทย์ส่วนกลางมาตรวจหรือมีความเมตตามาแจ้งข้อกล่าวหาที่วัดพระธรรมกาย จึงตั้งข้อสงสัยกับดีเอสไอว่ามีการ “เลือกปฏิบัติ”หรือไม่ ลูกศิษย์หลายคนจึงมีคำถามขึ้นมาว่า คดีพระธัมมชโยมีวาระอะไรซ้อนเร้นอยู่หรือไม่??
ทบทวนในหลักกฎหมายเดียวกันกับผู้ทรงวุฒิผู้เป็นถึงรองอธิบดีอัยการคือ คุณปรเมศวร์ อินทรชุมนุม (รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด)
ท่านได้กล่าวเสมอว่า การแจ้งข้อกล่าวหาการสอบสวน เมื่อไหร่เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควร เป็นอำนาจพนักงานสอบสวน
*มาตรา ๑๓๐ ระบุให้เริ่มการสอบสวนโดยมิชักช้าจะทำการในที่ใด เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควร
โดยท่านได้เปรียบเทียบเหตุเดียวกันในกรณีคุณศุภชัยว่าชัดใน “รายการเป็นเรื่องเป็นข่าว” ดังนี้
“เมื่อกี้ชาวบ้านพูดอยู่คำนึงทำไมคุณศุภชัยไปแจ้งในเรือนจำได้ แล้วทำไมธัมมชโยจึงแจ้งในวัดไม่ได้ ใครจะตอบ?”
(เรือนจำ) นั่นไม่ใช่ที่ทำการของพนักงานสอบสวน
การสอบสวนจะสอบสวนเมื่อไหร่ เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควรเป็นอำนาจพนักงานสอบสวน ถ้าแจ้งข้อกล่าวหาไม่ได้เพราะป่วยก็รอไปก่อน
“ทีศุภชัย ที่อยู่ในคุกคุณยังไปแจ้งข้อกล่าวหาได้ ทำไมไม่ลากตัว เบิกตัวศุภชัยออกมาสอบสวนที่ดีเอสไอล่ะ ตอบคำถามนี้ได้ไหม อยู่ในเรือนจำก็ออกมาได้ ก็ขอศาลเบิกตัวมา ง่ายกว่าท่านธัมมชโย……. แต่ท่านเลือกที่จะกลับเข้าไปถาม ผู้ต้องขัง ผู้ต้องโทษแล้ว 13 ปี”
ย้ำอีกทีอีกซักรอบมาฟังความเห็นจากประสบการณ์จริงของอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส บ้าง
เมื่อถามท่านว่าการแจ้งข้อกล่าวหานอกสถานที่หรือที่วัดทำได้หรือไม่?
ท่านตอบชัดว่าได้การสอบสวนจะทำที่ไหน เมื่อไหร่เวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องมาทำที่ทำการของพนักงานสอบสวน ไม่จำเป็นที่จะต้องมาที่ดีเอสไอหรือเจ้าหน้าที่ดีเอสไอจะไปพบหลวงพ่อเพื่อแจ้งข้อกล่าวหา ให้ท่านเซ็นต์รับสารภาพหรือปฏิเสธจะประกันตัวที่นั่นที่ไหน เมื่อไหร่ หลักทรัพย์อะไรสามารถทำได้หมด
“ พูดอย่างนี้พูด ผมว่า ผิดน่ะไม่พูดความจริงให้สังคมได้รับทราบประชาชนก็อาจจะไขว้เขวถูกไหม จริงๆทำได้ ทำไมจะทำไม่ได้ล่ะ
ก็ผมกว่าจะเป็นผบ. แล้วก็เกษียณมาผมก็เห็นอยู่ตลอดเวลานะ หากทางวัดเชิญดีเอสไอไปแจ้งข้อกล่าวหาผมว่าดีเอสไอควรจะไปนะ แล้วเรื่องมันจะจบง่ายนะครับ
ไม่ใช่ว่าเอ้ย ไม่ได้จะต้องมาที่นี่ (ดีเอสไอหรือศาล) ผมก็ไม่รู้ว่ามันเพราะอะไรนะ ซึ่งผมก็ฟันธงได้เลยว่ามันไม่ถูกเกี่ยวกับทางนี้มันไปได้นะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องคดีอาญาทั่วไปนะครับมันจะเป็นเงินพันบาท หมื่นบาท แสนบาท ร้อยล้านอะไรอย่างนี้มันเรื่องเป็นเรื่องปกติทางการเมืองไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยว”
ตอนนี้เสมือนผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายทุกคนจะเห็นพ้องว่า...แจ้งข้อกล่าวหาที่ไหนก็ได้ยกเว้น! อัยการขจรศักดิ์ พุทธานุภาพ อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน คนเดียวหรือไม่ที่มีความเห็นต่าง?
ท่าทีของท่านเสมือนแนะนำให้ใช้กำลังมากกว่าการเจรจาหรือไม่ หลังจากปฏิเสธการเจรจาร่วมระหว่างดีเอสไอกับเจ้าคณะจังหวัดปทุม หรือท่านมีแผนอยากจะจับสึกเจ้าวาสวัดพระธรรมกายตรงกับเป้าของพระพุทธอิสระ ที่จ้องเชียร์กันทุกวันหรือเปล่าไม่ทราบได้
ประโยคนึงที่ท่านปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองอธิบดีอัยการได้กล่าวไว้ในช่วงในตอนหนึ่งนั้นคือ "การดำเนินคดีไปต้องเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่ใช่กำลังปะทะ กฎหมายไม่ได้สอนอย่างนั้น"
แม้ตอนนี้ท่านนายกเองก็บอกว่าจะไม่ใช้มาตรา 44 กับกรณีวัดพระธรรมกายแล้ว แล้วดีเอสไอจำเป็นหรือไม่ ที่จะทบทวนเรื่องนี้โดยละเอียด โดยไม่ใช้กองกำลังมาบุกวัดพระธรรมกาย แต่ยึดหลักการประนีประนอม ขอมาแจ้งข้อกล่าวหาที่วัดให้เสร็จทุกอย่างก็จบ แต่ถ้ายึดตัวบทกฎหมายอย่างเดียวแต่ทิ้งหลักศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองก็ไม่เกิดขึ้นได้
แหล่งอ้างอิงบทความ :
01.ธรรมกายได้เฮ! 'ประยุทธ์' พูดใหม่เรื่อง'ม.44-ธัมมชโย'
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/706388
02.ดีเอสไอ"บุกเรือนจำ แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่ม "ศุภชัย"คดีฟอกเงินสหกรณ์คลองจั่น
http://www.nationtv.tv/main/content/crime/378508254/
03. เผชิญหน้า 10/6/59 : จากใจ "อัยการ" ถึง"ธัมมชโย" ยังไงก็จับ...?https://www.youtube.com/watch?v=W-0lilaRN6M
04. หมายจับบนศรัทธา "ธัมมชโย" (รายการเป็นเรื่อง เป็นข่าว)
https://www.youtube.com/watch?v=FimYTZ2HLUM
สัมภาษณ์: คุณปรเมศวร์ อินทรชุมนุม(รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด)
05. เสรีพิศุทธ์ พูดถึงกรณีวัดพรธรรมกาย ตอน 2
https://www.youtube.com/watch?v=r6lIDFjfj08
06. การสอบสวนสามัญ
http://thai-crime-process.blogspot.com/2010/03/blog-post_8398.html