พระพุทธศาสนา ตอนที่ 14 : หลักปฏิบัติของชาวพุทธ ???

หลักปฏิบัติของชาวพุทธคือทางสายกลาง หมายถึง มรรคมีองค์ 8 ซึ่งสรุปก็คือเป็นการปฏิบัติไตรสิกขา เพื่อบรรลุเป้าหมายในพระพุทธศาสนา คือความหลุดพ้น หรือนิพพานได้ http://winne.ws/n25277

4.3 พัน ผู้เข้าชม

เรามาศึกษาพระพุทธศาสนา ผ่านการพูดคุยของคนที่อยากรู้ตัวจริง

พระพุทธศาสนา ตอนที่ 14 : หลักปฏิบัติของชาวพุทธ ???

ร็อบ : คุณเคยพูดว่าพระพุทธศาสนาเน้น

         การปฏิบัติ  ผมนึกไม่ออกเลยว่า

         พระธรรมเทศนาที่เป็นหลักในพระ

         พุทธศาสนา อย่างเช่นเรื่อง กรรม

         เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด จะเอา

         มาปฏิบัติอย่างไร ?

ทิม  : พระธรรมเทศนาส่วนใหญ่จะอธิบาย

         สัจธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องศึกษา

         เพื่อจะได้เข้าใจคำสั่งสอนในพระ

         พุทธศาสนาและธรรมชาติของ

         วัฏสงสาร  เมื่อเข้าใจแล้วศรัทธาก็

         จะเกิดขึ้น เมื่อมีศรัทธา บุคคลก็จะ

         ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในพระพุทธ

         ศาสนา ถ้าปราศจากศรัทธาเสียแล้ว

         บุคคลย่อมจะไม่ลงมือปฏิบัติ  หากมี

         กฎเกณฑ์จะต้องปฏิบัติตามมากมาย

         คนเราก็อาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้

         ครบถ้วน  อันที่จริงถ้าเปรียบเทียบ

         หัวข้อธรรมที่จะต้องปฏิบัติกับที่จะ

         ต้องศึกษานั้น  หัวข้อธรรมที่จะต้อง

         ปฏิบัติมีเพียงเล็กน้อย ขอให้นึกย้อน

         ไปที่อริยสัจ 4 คุณจำหัวข้อที่ 4 คือ

         ทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ได้ไหมครับ ?

ร็อบ : ได้ครับ ทางสายกลาง

ทิม  : นี่คือข้อที่จะต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง

         อันที่จริงโดยทั่วไปแล้ว

         ทางสายกลาง หมายถึง

         มรรคมีองค์ 8 เพราะประกอบด้วย

         ธรรม 8 ข้อคือ

         1. สัมมาทิฐิ (ความเห็นถูก)

         2. สัมมาสังกัปปะ (คิดถูก)

         3. สัมมาวาจา (พูดถูก)

         4. สัมมากัมมันตะ (ทำถูก)

         5.  สัมมาอาชีวะ(อาชีพถูก)

         6. สัมมาวายามะ (เพียรถูก)

         7. สัมมาสติ (สติถูก)

         8. สัมมาสมาธิ (สมาธิถูก)

         เพื่อสะดวกในการปฏิบัติ มรรคมี

         องค์ 8 นี้ ก็ถูกจัดรวมกลุ่มกันเสีย

         ใหม่เป็น 3 กลุ่มคือ

         ศีล สมาธิ ปัญญา

         กลุ่มที่ 1 – ศีล ประกอบด้วย

         -         สัมมาวาจา

         -         สัมมากัมมันตะ

         -         สัมมาอาชีวะ

         กลุ่มที่ 2 – สมาธิ ประกอบด้วย

         -         สัมมาวายามะ

         -         สัมมาสติ

         -         สัมมาสมาธิ

         กลุ่มที่ 3 – ปัญญา ประกอบด้วย

         -         สัมมาทิฐิ

         -         สัมมาสังกัปปะ

ร็อบ : เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะต้องปฏิบัติ

         อย่างจริงจังก็คือ ศีล สมาธิ และ

         ปัญญา

ทิม  : ถูกแล้วครับ ข้อปฏิบัติทั้ง 3 นี้

         เรียกว่า “ไตรสิกขา

ร็อบ : ผมเข้าใจแล้วครับ  ไม่ว่า

         พระไตรปิฎกจะมีพระสูตรอยู่

         มากมายเท่าไรก็ตาม  สิ่งที่จะต้อง

         นำมาปฏิบัติก็คือ “ไตรสิกขา”

ทิม  : ถูกต้องอย่างยิ่งครับ

ร็อบ : พระพุทธองค์ตรัสว่าใจคือแหล่ง

         กำเนิดของความคิดทั้งปวง  ความ

         คิดทั้งปวงล้วนมีใจเป็นผู้กำหนด

         ตรงนี้ไม่ได้แสดงว่า สมาธิ สำคัญ

         ที่สุดหรือครับ ทำไมไตรสิกขา

         จึงเริ่มที่ศีล

ทิม  : ท่านสอนว่าคนเราต้องฝึกทั้ง 3 อย่าง

         นี้ไปพร้อมๆ กัน เพราะแต่ละข้อต่าง

         เกื้อกูลกัน  อย่างไรก็ตาม ศีลถือว่า

         เป็นพื้นฐานที่จะทำจิตใจให้บริสุทธิ์

         ยิ่งขึ้น  ถ้าปราศจากศีลเสียแล้ว

         สมาธิก็จะพัฒนาไม่ได้  ลองนึกดูซิ

         ครับว่าคนที่ดื่มจนเมามาย จะทำใจ

         ให้เป็นสมาธิได้ไหมครับ?

ร็อบ : ไม่ได้เด็ดขาดคนเมาย่อมขาดสติ

ทิม  : เขายังผิดศีลข้อ 5 ด้วย

         อย่างไรก็ตาม พระพุทธองค์ได้ทรง

         ยืนยันไว้ในบางพระสูตรว่า  การ

         ปฏิบัติไตรสิกขาอย่างจริงจัง  ย่อม

         บรรลุเป้าหมายในพระพุทธศาสนา

         คือความหลุดพ้น หรือนิพพานได้

         อย่างแน่นอน

 

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ : อ. สุวณีย์ ศรีโสภา (Cr. ครูบาอาจารย์ผู้ทุ่มเท)

ขอขอบคุณรูปแบคกราว : ทางสายกลาง

แชร์