นักวิจัย มทส.โคราชเจ๋งประดิษฐ์เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5

ทีมงานและนักวิจัยคาดหวังว่า เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ด้วยระบบไฟฟ้าไอออนดังกล่าว จะสามารถขยายผลและติดตั้งสู่ชุมชนเมือง ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ PM 2.5 เพื่อลดมลพิษ ลดฝุ่นควัน กลิ่น http://winne.ws/n26770

4.3 พัน ผู้เข้าชม
นักวิจัย มทส.โคราชเจ๋งประดิษฐ์เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5
นักวิจัย มทส.โคราชเจ๋งประดิษฐ์เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5

       วันที่ 13 ธันวาคม 2562 ณ อาคารสุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา รองศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์ อนันต์ ทองระอา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พร้อมด้วย ดร.ชาญชัย ทองโสภา หัวหน้าสถานวิจัย สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนเสฏฐ์ ทศดีกรพัฒน์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มทส. , อาจารย์ ดร.สำราญ สันทาลุนัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์  มทส. คณะนักวิจัย ได้ร่วมกันแถลงผลงานวิจัยเครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ด้วยประจุไฟฟ้าไอออน โดยมีหลักการทำงานคล้ายเครื่องฟอกอากาศที่ใช้ในระบบปิด แต่คณะนักวิจัยได้ออกแบบให้เครื่องดังกล่าวสามารถที่จะใช้ในระบบเปิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการนำไปใช้งานได้จริง การประหยัดพลังงาน และการออกแบบให้สวยงามกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม 

        โดยใช้หลักการปล่อยประจุไฟฟ้าลบ ที่สร้างจากวงจรทวีแรงดันหลายหมื่นโวลต์จากไฟฟ้า 220 Vac ขึ้นไปเป็นแรงดันไฟฟ้าประมาณ 35,000 Vdc ค่ากระแส 18 mA (วงจรสร้างแรงดันสูง กระแสต่ำ) และแรงดันไฟฟ้าสูง 35,000 Vdc เพื่อจ่ายประจุไฟฟ้าไอออนออกไปในอากาศผ่านปลายแหลมของแผ่นเพลททองแดง เพื่อดักจับอนุภาคของฝุ่น PM 2.5 ทำให้อนุภาคฝุ่นเป็นกลางหล่นลงสู่พื้น คงเหลือแต่อากาศที่สะอาดปราศจากฝุ่นควันกลับสู่ธรรมชาติ มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม โดยเครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ต้นแบบนี้สามารถกำจัดฝุ่นละอองได้ 100,000 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง เทียบเท่าประสิทธิภาพของต้นไม้ขนาดกลางจำนวน 510 ต้น มีประสิทธิภาพในการกำจัดฝุ่นในพื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางเมตรโดยรอบ และใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยประมาณชั่วโมงละ 1.50 บาท ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพ ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยเครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ด้วยประจุไฟฟ้าไอออนต้นแบบนี้ มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 200,000 บาทต่อเครื่อง ซึ่งมีราคาถูกกว่าเครื่องจากต่างประเทศหลายเท่าตัว ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมขยายผล และติดตั้งสู่ชุมชนเมืองที่มีปัญหาเกี่ยวกับ PM 2.5 เพื่อลดมลพิษได้ โดยสามารถออกแบบตัวเครื่องให้มีความสวยงามกลมกลืนต่อสภาพแวดล้อมในแต่ละสถานที่ได้

 

นักวิจัย มทส.โคราชเจ๋งประดิษฐ์เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5

          รองศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย ทองโสภา หัวหน้าสถานวิจัย สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า ผลงานวิจัยเครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ด้วยประจุไฟฟ้าไอออน เกิดจากแนวคิดในการแก้ปัญหา PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมีหลักการทำงานคล้ายเครื่องฟอกอากาศที่ใช้ในระบบปิด แต่คณะนักวิจัยได้ออกแบบให้เครื่องดังกล่าวสามารถที่จะใช้ในระบบเปิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการนำไปใช้งานได้จริง การประหยัดพลังงาน และการออกแบบให้สวยงามกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม โดยใช้หลักการปล่อยประจุไฟฟ้าลบ ที่สร้างจากวงจรทวีแรงดันหลายหมื่นโวลต์ จากไฟฟ้า 220 Vac ขึ้นไปเป็นแรงดันไฟฟ้าประมาณ 35,000 Vdc ค่ากระแส 18 mA (วงจรสร้างแรงดันสูง กระแสต่ำ) และแรงดันไฟฟ้าสูง 35,000 Vdc เพื่อจ่ายประจุไฟฟ้าไอออนออกไปในอากาศผ่านปลายแหลมของแผ่นเพลททองแดง เพื่อดักจับอนุภาคของฝุ่น PM 2.5 ทำให้อนุภาคฝุ่นเป็นกลางหล่นลงสู่พื้น คงเหลือแต่อากาศที่สะอาดปราศจากฝุ่นควันกลับสู่ธรรมชาติ มีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม 

         โดยเครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ต้นแบบนี้ สามารถกำจัดฝุ่นละอองได้ 100,000 ไมโครกรัม/ชั่วโมง เทียบเท่าประสิทธิภาพของต้นไม้ขนาดกลางที่มีพื้นที่ใบรวมประมาณ 9 ตารางเมตร จำนวน 510 ต้น และค่าพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยประมาณชั่วโมงละ 1.50 บาท สามารถช่วยป้องกันการกระจายของฝุ่น ลดความเสี่ยงของผู้ป่วยทางเดินหายใจและการเกิดภูมิแพ้ได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพ ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ตัวเครื่องมีขนาด 120 ซม. x 120 ซม. x 120 ซม. ภายในบรรจุหม้อแปลงไฟฟ้า Step up ขนาด 55 ซม. x 55 ซม. x 72 ซม. เสาปล่อยประจุไฟฟ้าทองแดงมีขนาด 120 ซม. x 120 ซม. x 255 ซม. และมีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 200,000 บาทต่อเครื่อง

 

นักวิจัย มทส.โคราชเจ๋งประดิษฐ์เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5

         ทั้งนี้ ทีมงานและนักวิจัยคาดหวังว่า เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ด้วยระบบไฟฟ้าไอออนดังกล่าว จะสามารถขยายผลและติดตั้งสู่ชุมชนเมือง ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ PM 2.5 เพื่อลดมลพิษ ลดฝุ่นควัน กลิ่น โดยสามารถออกแบบตัวเครื่องให้มีความสวยงามกลมกลืนต่อสภาพแวดล้อม สามรถขยายขนาดการใช้งานได้ตามขนาดพื้นที่ ทั้งในครัวเรือน ตัวอาคาร สถานประกอบการ หรือสร้างเป็นเครื่องกำจัดฝุ่น PM ขนาดใหญ่เทียบเท่าตึกกว่า 10 ชั้น หรือปรับให้เข้ากับสภาพพื้นที่และสถาปัตยกรรมที่จะทำการติดตั้งต่อไป

อ่านต่อที่ https://www.banmuang.co.th

แชร์